มื้อแรกรอบโลกอาหารปีใหม่ โชคดีมีชัยไปตลอดปี
ส่งท้ายปีเก่าสู่วันแรกของปีใหม่ วันที่เหมาะกับการเริ่มต้นทำสิ่งดีๆ ให้ตัวเองเป็นอย่างแรก แล้วอาหารมื้อแรกล่ะ ถ้าอยากโชคดีต้องกินอะไร OKMD ชวนคุณตามไปดูความเชื่อ ไปจนถึงบริบทของพื้นท่ีที่ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับมื้อแรก มื้อเดียวที่ผู้คนในแต่ละประเทศเชื่อว่าจะส่งผลต่อชีวิตพวกเขาไปตลอดหนึ่งปี
1. “โดนัทไม่มีรู
ชาวดัตช์ชอบกินช่วงปีใหม่” เนเธอแลนด์: ในวันส่งท้ายปีเก่าของเนเธอแลนด์
ชาวดัตช์พร้อมแล้วกับประเพณีกิน “โอลีบอลเลน” Oliebollen ที่แปลว่า
ลูกบอลน้ำมัน หน้าตาเหมือนโดนัทชิ้นเล็กๆ สอดไส้ลูกเกด นำไปทอดในน้ำมันท่วมและร้อนจัด
จากนั้นโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่งเติมความหวานให้กับโดนัทของชาวดัตช์ในแบบที่ไม่มีรู
ถ้าใครไปเยือนเนเธอแลนด์ยังไงก็ต้องลองให้รู้ โดยสามารถหาอร่อยได้ในอัมสเตอดัม
ส่วนทำไมต้องกินช่วงปีใหม่ บ้างว่าเป็นขนมฉลองฤดูหนาวเทศกาลยูล (Yule) ของชนเผ่าดั้งเดิมที่ไม่นับถือคริตศาสนา บ้างว่ามาจากตำนานเพื่อให้รอดจากเพิร์ชตา (Perchta) เทพธิดานอกรีตและวิญญาณร้ายที่จะบินมาเยือน และผ่าท้องผู้ที่ไม่เชื่อฟังในฤดูหนาวเที่ยงคืน การกินขนมชนิดนี้ที่มีไขมันอาจเป็นอุปสรรคทำให้ดาบของเทพีลื่นจนรอดก็เป็นได้เช่นกัน บ้างก็ว่ามาพร้อมกับชาวยิวที่หนีจากโปรตุเกสในช่วงยุคกลาง โดยชาวดัตช์จะขนมวันที่ 31 ธันวาคมเตรียมไว้ล่วงหน้า ก่อนอุ่นกินกันในวันใหม่ของปี
2. “ซู้ดโชบะส่งท้ายปี
ซุปโมจิมื้อรับปีใหม่” ญี่ปุ่น: ถ้าปีที่แล้วไม่ใช่ปีของคุณ
ชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะเชื่อว่าในมื้อคืนข้ามปี 31 ธันวาคมยังไงก็ต้องกินเมนู
“โซบะ โทชิโคชิ” Toshikosi Soba ที่ Toshikosi หมายความว่า “ข้ามปี”
เพราะเป็นอาหารประเภทเส้นที่ตัดง่ายที่สุดในบรรดาเส้นท่ีคนญี่ปุ่นนิยมกินกันทั่วไป
เพื่อตัดขาดความโชคร้าย พร้อมต้อนรับความโชคดีในปีใหม่ที่กำลังมา
โดยเส้นโซบะยังเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว ราบรื่น
เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งของเมล็ดโซบะด้วยเช่นเดียวกัน
จากนั้นตื่นมาสวัสดีปีใหม่ด้วยชุดอาหารมงคล “โอเซจิ” (Osechi) ที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัน จัดเตรียมในกล่องเคลือบอย่างสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกินพร้อมซุปโมจิ “โอโซะนิ” (Ozoni) ที่จะมีสูตรสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นของแต่ละบ้าน โดยแบ่งเป็น 2 สไตล์ภุมิภาคหลักคือ สูตรฝั่งคันโต และสูตรฝั่งคันไซ ซึ่งมีซุปและรูปก้อนแป้งโมจิที่ต่างกัน โดยในอดีตข้าวถือเป็นของหายากและมีราคาแพงมาก ครอบครัวจึงรวมตัวทำโมจิจากข้าวปีละครั้ง และมากกว่า “good luck” ซุปโอโซะนิยังช่วยให้รับมือกับสภาพอากาศหนาวได้ดี
3. “อร่อยกับเมล็ดทับทิม
ก้าวสู่ปีใหม่สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน” กรีกและตุรกี: รู้หรือไม่ว่าเมล็ดทับทิม
คือผลไม้สำคัญต้อนรับปีใหม่ในกรีก ตุรกี และดินแดนเมดิเตอร์เรเนียน
มีเรื่องราวเกี่ยวข้องในเทพปกรนัมกรีก (Greek Mythology) ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และมีชีวิตชีวา
การกินเมล็ดทับทิมจึงเป็นกุญแจในการก้าวสู่ประตูแห่งความเป็นมงคล
เริ่มต้นจากเรื่องราวที่ชาวกรีกในอดีตจะแขวนผลทับทิมที่ได้รับพรจากโบสถ์ที่ประตูหน้าบ้าน
จากนั้นเลือกตัวแทนตีหรือนำผลไปกระแทกกับประตูบ้าน
ที่ยิ่งเมล็ดกระจายไปมากเท่าไหร่ยิ่งโชคดี
ในวันส่งท้ายปีที่นาฬิกาบอกเวลาเที่ยงคืน
ในตุรกีเมล็ดทับทิมคือความโชคดีของคนที่กำลังเริ่มต้น สร้างครอบครัว นั่นทำให้ใครๆ ก็มองหาของขวัญเป็นผลทับทิมในช่วงส่งท้ายปี ที่มีเคล็ดลับว่าถ้าหาได้ไม่ทัน อาจโรยเกลือหน้าบ้านขอให้โชดดีเพื่อความอุ่นใจ สอดคล้องกับบทความในเว็บไซต์ dailysabah.com ที่มีชื่อว่า “ประเพณีปีใหม่ตุรกี: สวมชุดสีแดง ทุบผลทับทิม และอีกหลายความเชื่อทางไสยศาสตร์รอบตัว”
4. “องุ่น 12 ผลเต็มปากเต็มคำ หวานฉ่ำรับปีใหม่” ในสเปน: ถ้ากรีกและตุรกีมีทับทิมเป็นสัญลักษณ์ความโชคดี
ฝั่งสเปนและหลายประเทศที่ใช้ภาษาสเปนก็มีองุ่นส่งเข้าประกวดอวดความโชคดีเช่นกัน
พร้อมถ้อยคำแฮปปี้นิวเยียร์ “Feliz Año Nuevo” (เฟลิซ อาญโญ
นูเอโบ) ชาวสเปนเชื่อว่าการกินองุ่น 12 ผลในช่วงคืนข้ามปีจะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง
สมบูรณ์ และความสุข โดยองุ่นหนึ่งผลจะเป็นสัญลักษณ์ของแต่ละเดือน
ที่ถ้ามีลูกไหนฝาดหรือขมก็เตรียมใจเผื่อว่าอาจเจออุปสรรคบ้างนิดๆ
ซึ่งก็เป็นสีสันของชีวิตคนเรา
บ้างว่าประเพณีนี้เริ่มต้นในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 เกิดขึ้นจากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์องุ่นทางตอนใต้ของประเทศ บ้างว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1880 โดยนำมาจากฝรั่งเศสประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีกติกาการกินคือต้องหยิบองุ่นใส่ปากทีละลูกตามเสียงระฆังจากโบสถ์ที่จะตีทั้งหมด 12 ครั้ง บางคนถึงขนาดปอกเปลือกและแกะเมล็ดองุ่นรอ ยอมง้อความโชคดีเตรียมไว้เลย
ในวันปีใหม่ตามสากล ไทยเราเองไม่มีอาหารมื้อแรกที่โดดเด่นเป็นพิเศษ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละครอบครัว แต่ละภาคที่อาจเลือกกินอาหารที่มีอาหารชื่อมงคลร่วมด้วยกับบรรยากาศครื้นเครง ที่ได้แก่ ขนมตระกูลทองอย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ทองเอก และดาราทอง หรือ ทองเอกกระจัง อีก 2 ชื่อเรียกของขนมจ่ามงกุฏ ที่มักใช้ในงานแต่งงานหรืองานมงคล หรือเมนูลาบ ที่พ้องเสียงกับคำว่า ลาภ เพื่อน้อมรับความโชคดี
ข้อมุลอ้างอิง
- New Year 2023: 5 Food Brings good luck on
new year’s Eve https://www.bakingo.com/.../new-year-5-foods-brings-good.../
- 8 Lucky New Year’s foods from around the
world https://www.foxnews.com/.../lucky-new-years-foods-around...
- They Eat What? New Year Food Traditions
around the Word
https://edition.cnn.com/.../new-years-food.../index.html
- ชวนทำ “โซบะส่งท้ายปีเก่า” และ “ซุปโมจิรับเช้าปีใหม่”
แสนเรียบง่ายแบบชาวญี่ปุ่น https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/100905
- ซุปโอะโซนิชนิดต่างๆ
ของแต่ละท้องถิ่นในญี่ปุ่น https://www.jnto.or.th/newsletter/ozoni/
- Ozoni - Japanese New Year Mochi Soup https://www.chopstickchronicles.com/ozoni-miso-soup.../
- New Year's customs in Turkey: Wearing red,
smashing pomegranates and other superstitions https://www.dailysabah.com/.../new-years-customs-in.../news

