Notifications

You are here

แผนที่ความรู้

หอผีเมืองลำปาง

24 มีนาคม 2024 1109 อ่านข่าวนี้ 1 เดือนก่อน 0
ย่าน : ลำปาง  
หมวดหมู่ : #ความเชื่อและประเพณี 

ผีในโลกทัศน์ของคนล้านนาหรือคนเมืองถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวิถีชีวิตมาแต่โบราณ มีบทบาทกับมนุษย์ในฐานะผู้ที่คอยคุ้มครอง ปกปักรักษาทั้งครอบครัว ชุมชน และสังคม ซึ่งคนเมืองเรียกว่าผีบรรพบุรษหรือผีปู่ย่าผีที่จัดอยู่ในกลุ่มผีบรรพบุรุษนอกจากผีปู่ย่าแล้ว ยังมีผีเจ้าบ้าน ผีเจ้าเมือง ผีเจ้านายต่าง และเนื่องจากแต่ก่อนภาคเหนือเป็นสังคมเกษตรจึงจะมีความเชื่อว่ามีผีของธรรมชาติ เช่น ผีขุนน้ำ ผีฝาย ผีเหมือง หรือผีทุ่งนา ในอดีตการนับถือผีจะมีการตั้งศาลที่เรียกว่าหอขึ้นเพื่อเป็นที่สิงสถิตของผีและกราบไหว้บูชาหอผีจึงแบ่งออกได้หลายระดับ ทั้งระดับเมืองที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของผีเจ้าเมือง ผีเจ้านาย หอผีระดับชุมชน และหอผีระดับบ้าน เชื่อว่าการสร้างหอผีในอดีตมีการดำเนินการอย่างมีแบบแผน หอผีที่มีความสำคัญเกี่ยวพันกับเมืองจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ มีต้นไม้ใหญ่ อยู่ในระบบนิเวศที่พรั่งพร้อม หอผีในบ้านจะตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือทิศหัวนอนของบ้าน 


ปัจจุบันในเมืองลำปาง หอผีที่ยังเหลือเป็นหลักฐานทางความเชื่อและประวัติศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่อดีตเริ่มลดจำนวนลงเรื่อย ตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป จากการสำรวจหอผีในพื้นที่ย่านรอบเวียง อำเภอเมืองลำปาง ในเดือนพฤศจิกายน ปี .. 2566 พบว่าหอผีที่ยังคงเหลือและอยู่ในสภาพที่ได้รับการดูแลรักษาจะเป็นหอผีระดับเมืองเป็นส่วนใหญ่ 


  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลหลักเมืองตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางเก่าจังหวัดลำปาง ถนนไปรษณีย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง ภายในเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมืองจังหวัดลำปางซึ่งเป็นเสากลมทำจากไม้สัก จำนวน 3 หลัก เสาหลักเมืองหลักที่ 1 สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี .. 2400 ในสมัยเจ้าวรญาณรังษีราชธรรม ขณะนั้นได้ฝังเสาหลักเมืองนี้ วัดปงสนุกซึ่งเป็นวัดสะดือเมืองในสมัยนั้น ต่อมาได้ถูกย้ายไปฝัง คุ้มราชวงศ์เก่าก่อนที่จะถูกรื้อไป เสาหลักเมืองหลักที่ 2 สร้างขึ้นในปี .. 2416 สมัยพระเจ้าพรหมาธิพงษ์ธาดา ขณะนั้นได้ฝังเสาหลักเมืองหลักนี้ ฝั่งเมืองปัจจุบัน ตรงคุ้มราชวงศ์เก่า เสาหลักเมืองหลักที่ 3 สร้างเมื่อประมาณปี .. 2430 สมัยเจ้าหลวงนรนันท์ชัยชวลิต ซึ่งได้ฝังหลักเมืองหลักนี้ในฝั่งเมืองใหม่ บริเวณตลาดราชวงศ์ ข้างคุ้มราชวงศ์เก่า ต่อมาเจ้าบุญยวาทย์วงศมานิตย์ เจ้าเมืองลำปาง ได้สร้างศาลาว่าการจังหวัดขึ้นในที่ดินที่เรียกว่าหอคำเมื่อแล้วเสร็จจึงได้อัญเชิญเสาหลักเมืองทั้งสามมาประดิษฐานอยู่ด้วยกัน ในปี .. 2440 และสร้างมณฑปครอบเสาหลักเมืองไว้ในปี .. 2511 ตามความเชื่อของโบราณราชประเพณี การสร้างบ้านสร้างเมืองจำเป็นต้องมีหลักเพื่อความเสถียรภาพและความมั่นคงของบ้านเมืองจึงเกิดเป็นเสาหลักเมืองขึ้น ปัจจุบันบริเวณศาลหลักเมืองจะมีการจัดงานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองและสืบชะตาเมืองลำปางในเดือนพฤษภาคมของทุกปี จากนั้นวันต่อมาจึงมีการฟ้อนผีหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง



ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง


  • ศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมือง

ศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมืองตั้งอยู่ด้านหลังของหออะม็อกหรือหอปืนโบราณ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนศรีเกิด ชุมชนศรีเกิด ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองนครลำปาง รุ่นที่ 3 สร้างเมื่อปี .. 2351 ในรัชสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 3 แห่งทิพย์จักรวงศ์สัตตราชา เพื่อเป็นสถานที่เก็บปืนใหญ่และกระสุนสำหรับต่อสู้ข้าศึกและใช้เป็นหอสังเกตการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น หออะม็อกได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478 ชาวเมืองลำปางในอดีตเชื่อว่าหออะม็อกเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นที่สิงสถิตของหนานหมอกมุงเมืองนักรบผู้เป็นนายทหารเอกคนสำคัญของเจ้าเมืองลำปาง มีกิตติศัพท์เลื่องลือว่าเป็นผู้มีวิชาอาคม ยามเดินไปไหนจะมีหมอกปกคลุมไปทั่ว เป็นที่มาของชื่อเจ้าพ่อหมอกมุงเมืองเมื่อสิ้นชีพลง ชาวบ้านที่นับถือจึงได้ตั้งศาลสักการะไว้ภายในบริเวณหออะม็อกและนับถือเป็นเจ้าปกปักรักษาบ้านเมืองมาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีการจัดประเพณีฟ้อนผีเป็นการบวงสรวงสักการะเป็นประจำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี ถือเป็นการสืบทอดประเพณีไม่ให้หายไปจากแบบแผนที่ปฏิบัติต่อกันมา ทำให้ภายในชุมชนเกิดความสามัคคีและการร่วมมือกันไปจนถึงคนรุ่นต่อไป



หออะม็อกหรือหอปืนโบราณ ตั้งอยู่บนถนนศรีเกิด ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง




ศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมือง


  • ศาลเจ้าพ่อกว้าน

ศาลเจ้าพ่อกว้านปัจจุบันตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ถนนบุญวาทย์ อำเภอเมืองลำปาง เจ้ากว้าน เป็นเจ้าพ่อศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีการสันนิษฐานจากการเซ่นสังเวยว่ามีความสำคัญพอ กับเจ้าพ่อหลักเมือง ทุกครั้งที่มีการสังเวยเจ้าพ่อหลักเมืองจะแบ่งครึ่งหนึ่งของเซ่นไปสังเวยเจ้าพ่อกว้านด้วย หรือเมื่อเกิดศึกสงครามต้องออกรบจะต้องไปบวงสรวงเจ้ากว้านก่อน โดยมีเครื่องเซ่นเป็นหมูดำปลอด 1 ตัว ไก่คู่ ตีนหมู วัวกีบผึ้ง หางไหม 1 ตัว ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อกว้านเป็นที่นับถือตั้งแต่เจ้าผู้ครองนครมาจนถึงราษฏรสามัญ แรกเริ่มศาลเจ้าพ่อกว้านตั้งอยู่หลังบ้านพักผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถนนบุญวาทย์ มีลักษณะเป็นศาลทรงไทยขนาดใหญ่ เดิมเป็นศาลตัดสินความของทางราชการ ในสมัยโบราณเมื่อมีคดีความที่จะต้องพิพากษาตัดสินก่อนจะให้การต่อศาล คู่กรณีต้องไปสาบานต่อหน้าหอนี้หรือก็คือที่สิงสถิตของเจ้าพ่อกว้านกว้าน ศาลสถิตยุติธรรมก็มีชื่อเรียกว่าศาลเจ้าพ่อกว้านตามไปด้วย ต่อมามีการศาลยุติธรรมขึ้นใหม่ที่ศาลจังหวัด จึงได้รื้อศาลเจ้าพ่อกว้านหลังเดิมมาสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ในปี .. 2497 ศาลเจ้าพ่อกว้านถูกรื้อถอนอีกครั้งเพื่อใช้พื้นที่ในการสร้างตึกเรียน บางส่วนของชิ้นไม้ที่ประกอบเป็นศาลถูกนำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์วัดเมืองศาสน์และวัดพระแก้วดอนเต้า ส่วนทางโรงเรียนได้สร้างศาลขึ้นมาแทนเพื่อเป็นที่สถิตของเจ้าพ่อกว้าน นอกจากที่ในโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยแล้ว ศาลเจ้าพ่อกว้านยังตั้งอยู่ที่ตลาดออมสิน ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียงอีกแห่งหนึ่ง ประวัติความเป็นมาในการตั้งศาลที่ตลาดออมสินนี้ไม่มีระบุไว้อย่างชัดเจน เมื่อสอบถามจากผู้ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงสรุปได้ว่าเมื่อนานมาตั้งแต่จำความได้ ศาลก็ตั้งอยู่ตรงนี้แล้ว คาดว่าอาจเป็นการแบ่งจากศาลเจ้ากว้านเดิมมาตั้งเพื่อเคารพบูชา ศาลแห่งนี้ศาลไม้ขนาดปานกลาง ทาสีแดงสดทั้งหลัง หลายปีก่อนจะมีการเลี้ยงผีอย่างยิ่งใหญ่ แต่ปัจจุบันผู้ที่ทำหน้าที่ม้าขี่หรือคนทรงในพิธีกรรมได้เสียชีวิตไปนานแล้ว การเลี้ยงผีจึงไม่ได้จัดเป็นพิธีการใหญ่เหมือนเก่า 



ศาลเจ้าพ่อกว้าน ตั้งอยู่ตลาดออมสิน ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง


  • ศาลเจ้าราชวงศ์

ศาลเจ้าราชวงศ์ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดราชวงศ์ ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง เจ้าศรีรัตน์ ลำปาง ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าราชวงศ์ได้เรียบเรียงประวัติเจ้าราชวงศ์ไว้ว่า พลตำรวจตรีเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ลำปาง) เป็นโอรสองค์โตของเจ้าบุรีรัตน์กับเจ้าหญิงคำปิ๋ว ลำปาง ประสูติที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ บ้านปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาในสำนักครูบาโน พระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชาวลำปางในสมัยนั้นเพราะยังไม่มีสถานศึกษาของรัฐ เมื่อได้รับการศึกษาเบื้องต้นจนสามารถรับราชการจึงเข้ารับราชการเป็นตำรวจในกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำวัง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปางคนแรก เจ้าราชวงศ์เสกสมรสกับแม่เจ้าทิพยอด ธิดาในพระเจ้าพรหมมาภิพงศ์ธาดา และได้มาสร้างคุ้มอยู่ที่ถนนราชวงศ์ ซึ่งกลายมาเป็นที่ตั้งของตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน


เจ้าราชวงศ์มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับมหาอำมาตย์โท พล..เจ้าบุญวาทวงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย จึงมีความใกล้ชิดกันมาก ได้สู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่ขับไล่กบฎเงี้ยวที่บุกเข้าเมืองนครลำปางร่วมกับเจ้าผู้ครองนครลำปางจนได้รับชัยชนะ ขณะที่รับราชการก็ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นเจ้าขัน 5 คือ 1. เจ้าผู้ครองนครลำปาง 2. เจ้าอุปราช 3. เจ้าราชวงค์ 4. เจ้าบุรีรัตน์ และ 5. เจ้าราชบุตร เจ้าราชวงศ์กับแม่เจ้าทิพยอดมีราชบุตร คือ ..พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท  ลำปาง) ผู้สืบสกุล ลำปางและมีบุตรหลานสืบสกุลอีกมากในปัจจุบัน เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย ในปี .. 2465 เจ้าราชวงศ์มีศักดิ์สูงสุดสืบต่อจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง จึงเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักสยามให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางต่อจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่เนื่องจากเจ้าศรีนวล ลำปาง ธิดาในเจ้าบุญวาทย์ฯ ได้มีหนังสือถึงราชสำนักกรุงเทพขอให้แต่งตั้งเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ลำปาง) ผู้เป็นสวามีให้รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน จึงเป็นเหตุให้เจ้าราชบุตรรั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางจนถึงแก่พิราลัยในปี .. 2468 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางราชสำนักก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางอีก แต่เจ้าราชวงศ์ก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำของเจ้านายฝ่ายเหนือสายนครลำปาง 



ศาลเจ้าราชวงศ์


  •  หอผีอื่นๆ 

นอกจากย่านรอบเวียงแล้ว หอผีที่มีความสำคัญของเมืองลำปางกระจายออกไปตามบริเวณอื่น ที่อยู่ห่างออกไป เช่นศาลเจ้าพ่อโฮงดอย (ดอยเขางาม)” ตั้งอยู่เชิงเขาทางทิศตะวันตกของดอยพระบาทหรือในประวัติศาสตร์การสร้างเมืองลำปางเรียกว่า ดอยงาม เชื่อกันมาแต่เดิมว่าบริเวณเทือกเขาดอยงามนี้คือ เขลางค์บรรพต ซึ่งมีเทพยดาอารักษ์คือพระสุพรหมฤาษี การบูชาบวงสรวงเทพพยดาอารักษ์ประจำเขาดอยงามก็เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปีศาลเจ้าพ่อก้างม่อนพระยาแช่ ตั้งอยู่ในตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง เชื่อว่าเจ้าพ่อก้างเป็นผู้ดูแลผืนป่าดอยพระบาท-ม่อนพระยาแช่ หากใครกระทำการตัดไม้ทำลายป่า เปลี่ยนแปลงทิศทางลำห้วย หรือแอบแฝงผลประโยชน์ที่ไม่ใช่จารีตประเพณีก็จะพบกับความวิบัติ ทุกข์กายทุกข์ใจ แต่หากใครช่วยปกป้องรักษาผืนป่าก็จะได้รับความคุ้มครองดูแลให้มีความสุขความเจริญ ศาลเจ้าพ่อก้างมีกำหนดการบวงสรวง ที่กำหนดไว้เป็นแบบแผน แรม 6 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ยังมีศาลเจ้าพ่อสิบสองเมืองตั้งอยู่ที่ตรอกสันโค้ง ตำบลเวียงเหนือศาลเจ้าพ่อแสงคำ”  เชื่อว่าศาลที่ดูแลรักษาเจดีย์เก่าของวัดร้างปลายนา ตั้งอยู่ที่ชุมชนปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ


หอผีที่เป็นที่นับถือกันในระดับชุมชนหอเจ้าปู่-เจ้าย่า (เจ้าฟ้าเจียงฮาย)” ตั้งอยู่ที่ตรอกวัดเชียงราย ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง ถึงแม้จะมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวพันกับเจ้านายฝ่ายเหนือในอดีต ปัจจุบันหอนี้อยู่ในความดูแลของสายตระกูลที่สืบทอดต่อกันมา โดยที่ในอดีตหอเจ้าฟ้าเจียงฮายตั้งอยู่ที่ชุมชนเทศบาล 4 เมื่อได้ที่ทางใหม่ที่เหมาะสมจึงทำการย้ายหอมาไว้ที่ตำแหน่งปัจจุบัน พร้อมดำเนินการสร้างใหม่ในปี .. 2552 ปัจจุบันหอเจ้าฟ้าเจียงฮายไม่ได้มีการเลี้ยงผีประจำปีแต่เป็นการเลี้ยงดักแทน


หอผีที่ตั้งอยู่ในบ้านที่พักอาศัยปัจจุบันถูกรื้อถอนไปจำนวนมากตามบริบทของความเชื่อที่แตกต่างไปของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมือนความเชื่อในอดีตค่อย กลายเป็นเรื่องไกลตัวที่จับต้องไม่ได้ ใกล้กับโรงเรียนลำปางกัลยาณียังมีบ้านที่ยังคงมีหอผีขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านบ้านเลขที่ 1943” หรือบ้านอาจารย์ชูชัย ทิพย์เจริญ ย่านรอบเวียง เป็นบ้านที่ยังคงมีหอผีปู่ย่าตั้งอยู่ในสภาพที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เป็นหอไม้ขนาดเล็ก ทรงหลังคาสูง ข้างในมีหิ้งสำหรับวางเครื่องบูชา เป็นลักษณะพื้นฐานของหอผีปู่ย่าโดยทั่วไป เดิมในอดีตที่บ้านนี้จะมีการเลี้ยงผีอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี โดยมีแบบแผนที่กำหนดเฉพาะคือของที่ใช้ถวายจะต้องเป็นของที่มีสีขาวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคาวหวาน ดอกไม้ขาว ข้าวตอก บัวลอยขาว ด้วยบ้านเรือนในระแวกเดียวกันมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติพี่น้อง เมื่อมีงานก็จะมารวมตัวกันที่บ้านหลังนี้ ต่อมาภายหลังคนเฒ่าคนแก่ทยอยล้มหายตายจาก การเลี้ยงผีจึงไม่มีผู้สืบทอดต่อ จะไหว้ตามวันพระเท่านั้น และไม่ได้มีการจัดเลี้ยงใหญ่มาเป็นเวลา 12 ปีแล้ว



หอผีบ้านเลขที่ 1943 ย่านรอบเวียง


นอกจากนี้ยังมีเสื้อวัดบุญยืนคำว่า เสื้อ หมายถึงผีในคติความเชื่อของกลุ่มชนไต-ไท มีทั้งเสื้อเมือง เสื้อบ้าน และเสื้อวัดเสื้อวัดบุญยืนวัดบุญยืนตั้งอยู่ที่ถนนราชบุตร ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง สร้างขึ้นในปี .. 2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี .. 2535 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่ที่เคยเป็นที่จำวัดของหลวงพ่อเกษม เขมโก เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาหรือมีงานใดเกิดขึ้นที่วัด ชาวบ้านก็จะมากราบไหว้เสื้อวัดแห่งนี้ด้วย


ในอนาคต หอผีระดับเมืองที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อาจจะยังคงอยู่ต่อไปได้ตราบที่ได้รับการดูแลและความสนใจการคนในพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หอผีระดับชุมชนหรือระดับบ้านที่หาผู้สืบทอดต่อได้ยากแล้วอาจจะค่อย ทยอยหายไปตามยุคสมัยและความเชื่อที่เปลี่ยนแปลง


อ้างอิง


  • เกสรบัว อุบลสวรรค์. (10 พฤษภาคม 2564). เจ้าพ่อหมอกมุงเมือง ผีเจ้านายในหออะม็อก. วารสารเมืองโบราณ. https://www.muangboranjournal.com/post/Hor%20A-Mok
  • กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (11 ธันวาคม 2566). “ผีเสื้อผีบรรพบุรุษเก่าแก่ ที่มาของชื่อแมลงผีเสื้อ”. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_105690
  • เครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. (..). ไหว้สาเจ้าพ่อกว้าน. https://shorturl.at/cmOQ3
  • พัฒนา นาคทอง. (25 กันยายน 2564). วัดบุญยืน. เครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. https://www.lpocc.net/2021/09/blog-post_89.html
  • อนุกูล ศิริพันธ์. (6 ตุลาคม 2566). สัมภาษณ์.
  • NongNuu. (1 มกราคม 2560). ศาลหลักเมืองจังหวัดลำปาง (Lampang City Pillar Shrine). ศาลหลักเมือง (The City Pillar Shrine). https://xn--12cm1foaqwt7ag5d0f.blogspot.com/2017/01/lampang-city-pillar-shrine.html

URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ