Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

จากคุณสมบัติอันหลากหลายของผึ้งน้อยสู่ผลิตภัณฑ์ที่ต...

07 สิงหาคม 2024 43 อ่านข่าวนี้ 3 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การเกษตร  
หมวดหมู่ : #3.1เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 

10,000-15,000 ตัน คือ ผลผลิตน้ำผึ้งไทยในแต่ละปี อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อปี 2561

ถึงอย่างนั้น เมื่อดูกันตามประวัติศาสตร์การเลี้ยงผึ้ง อาชีพเลี้ยงผึ้งกำเนิดขึ้นตั้งแต่ราว 5,000 ปีก่อน ซึ่งมีการบันทึกเรื่องราวไว้บนแท่นศิลาจารึกที่ค้นพบในพีระมิด ของประเทศอียิปต์ กล่าวถึง การใช้เรือขนย้ายผึ้งผ่านแม่น้ำไนล์จากอียิปต์ตอนบนไปถึงตอนล่างในฤดูที่ดอกไม้บานสะพรั่ง

ต่อมามีการดัดแปลงวัสดุต่างๆ มาใช้เลี้ยงผึ้ง เช่น โอ่ง ไห ตะกร้าสาน เชือกถัก ซึ่งก็เป็นวิธีเลี้ยงผึ้งแบบแรกๆ ของประเทศไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อน ก่อนที่จะพัฒนาด้วยการนำลังไม้สี่เหลี่ยมไปตั้งล่อผึ้งตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นผึ้งโพรง หรือผึ้งประจำถิ่นของประเทศไทย

ขณะที่ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า ปี 2566 ประเทศไทยส่งออกน้ำผึ้งเป็นอันดับ 20 ของโลก มีผลผลิตน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง และชันโรง รวมกว่า 12,000 ตัน สร้างมูลค่าทั้งในและต่างประเทศราว 2 พันล้านบาท อีกทั้งยังส่งออกผลผลิตน้ำผึ้งพันธุ์ไปยังประเทศไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และจีนอีกด้วย

เพราะ ‘น้ำผึ้ง’ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอาหารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะนำไปราดแพนเค้ก ผสมกับน้ำมะนาว นำไปทำเจลลี่ และบางครั้งก็นำไปใช้แทนน้ำตาล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ RAMA CHANNEL ในเครือของโรงพยาบาลรามาธิบดี เขียนถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งไว้ว่า น้ำผึ้งประกอบด้วย น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรักโทส 80% และมีน้ำ แร่ธาตุ และวิตามิน จำนวน 20%


สรรพคุณของน้ำผึ้ง มีหลากหลายประการ คือ 

  1. ช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  2. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  3. ช่วยให้ความเครียดลดลง
  4. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
  5. เพิ่มความกระจ่างใสบริเวณใบหน้า
  6. สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดสิวได้

การสร้างมูลค่าเพิ่ม 

‘น้ำผึ้ง’ ไม่ใช่สินค้าเพียงอย่างเดียวจากการทำธุรกิจนี้ เพราะองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำผึ้งนั้นก็สามารถสร้างมูลค่าได้เช่นกัน

  • เกสรดอกไม้ ไขผึ้ง และนมผึ้ง : นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเสริมและสารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง 
  • พิษผึ้ง : นำมาใช้เป็นสารสกัดในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องเวชสำอาง เพราะมีคอลลาเจน ช่วยลดริ้วรอย และทำให้ผิวชุ่มชื่น ดูอ่อนวัย และช่วยรักษาในแพทย์เกี่ยวกับการต้านเชื้อจุลินทรีย์ การแข็งตัวของเลือด แก้อาการเกี่ยวกับไขข้อ และรูมาตอยต์
  • ขี้ผึ้ง : นำมาใช้เป็นสารเคลือบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และยังช่วยรักษาอาการแสบคันจากแมลงกัดต่อยได้

หรือถ้าพูดเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เราอาจเคยเห็นตามร้านค้าทั่วไป ก็มีทั้งสบู่น้ำผึ้ง โลชันน้ำผึ้ง ยาหม่องสมุนไพรจากขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งธรรมชาติ รวมถึงการนำมาทำเป็นเทียนไข  

ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่สะท้อนว่า ผลผลิตจากผึ้งตัวน้อย สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจหลากหลายด้านจากทุกองค์ประกอบของผึ้ง และยังเป็นผลผลิตที่ช่วยรักษาสุขภาพและความงามของเราได้เป็นอย่างดี  

อย่างน้อยๆ ก็ถูกใจผู้สูงอายุ คนที่รักสุขภาพ และคุณผู้หญิงที่รักในความงาม 

อ้างอิง :




URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ