ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพ หลายคนอาจนึกถึงประโยชน์ในการแก้ปัญหาหรือลดช่องว่างในภาคเกษตรกรรม
นิยามของ ‘เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่’ ในความหมายของสถาบันปิโตรเลียมไทย คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงสารพันธุกรรม (DNA) ในสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์ ให้มีลักษณะใหม่ตามต้องการ (ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ หรืออาจเกิดขึ้นได้แต่ใช้ระยะเวลานานและไม่จำเพาะ) เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายสาขา
เมื่อโลกและยุคสมัยเปลี่ยนไป คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพและความงามมากขึ้น เทคโนโลยีชีวภาพก็ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตสินค้าในทั้งสองอุตสาหกรรม โดยเน้นสกัดจากสารธรรมชาติ
สำหรับด้าน ‘สุขภาพ’ เทคโนโลยีชีวภาพนับเป็นหัวใจสำคัญของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสุขภาพ ทั้งยังเปิดโอกาสให้มีการพัฒนายาและวิธีการรักษาใหม่ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีมานาน และปรับปรุงผลลัพธ์การรักษาในทิศทางที่ดีขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาผลิต วัคซีน mRNA Pfizer และ Moderna ที่ช่วยรักษาโรคโควิด 19 ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Monoclonal Antibody โปรตีนที่เป็นชีววัตถุ ช่วยรักษาโรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ และโรคทางระบบประสาทได้ และ Pichia Pastoris ยีสต์ที่มีวงจรชีวิตสั้น ถูกนำมาปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อนำมาใช้ใยการศึกษาเรื่องการชะลอวัย ทั้งยังเป็นส่วนผสมสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาและต่อยอดวิธีการชะลอกระบวนการเสื่อมถอยตามวัยในมนุษย์
- https://lifesciencesintelligence.com/features/unveiling-the-impact-of-biotechnology-breakthroughs-in-healthcare
- www.clinikally.com/blogs/news/biotech-beauty-a-new-era-in-skincare-and-cosmetic-science
- www.nature.com/articles/s41586-023-06957-x
- https://hrs.isr.umich.edu/data-products/genetic-data
- https://privacyinternational.org/learn/dna-and-genetic-data
- https://gdpr-info.eu/recitals/no-34/
- www.ukbiobank.ac.uk/enable-your-research/about-our-data/genetic-data