มหาวิทยาลัยไหนเป็นที่ต้องการของเหล่าซิลิคอนวัลเลย์มากที่สุด
มหาวิทยาลัยไหนเป็นที่ต้องการของเหล่าซิลิคอนวัลเลย์มากที่สุด
แอปเปิ้ล (Apple)
เมต้า
(Meta บริษัทแม่ของเฟสบุ๊ค) อัลฟาเบท (Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิ้ล) แอมะซอน (Amazon) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ชื่อเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับต้นๆ ของโลก และเป็นบริษัทในฝันที่ใครหลายคนอยากเข้าไปทำงาน
บริษัทที่ว่ามา ทั้งหมดล้วนต่างมีสาขาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในซีลิคอนวัลเลย์ ซานฟรานซิสโก และขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ทำงานในฝันของเด็กรุ่นใหม่ ที่สนใจงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งชื่อเสียงของบริษัท ทั้งโอกาสในการเติบโต สวัสดิการที่ว่ากันว่าดีเยี่ยม ไม่แปลกใจเลยที่นักศึกษาไทยที่มีโอกาสไปศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลหรือ วิศวกรรมในสาขาต่างๆ ในอเมริกา จะมองเป้าหมายไปที่บริษัทชื่อดังเหล่านี้
แต่ในความเป็นจริง การจบในสาขาที่เกี่ยวข้อง จบในมหาวิทยาลัยชื่อดัง ก็ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีเสมอไปว่าคุณจะได้เข้าทำงานในบริษัทเหล่านี้ เพราะจากข้อมูล ก็พบว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับคนที่จบจากมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกเสมอไป
ปี 2017 บริษัทจัดหางานในซาน ฟรานซิสโก ชื่อไฮริ่งโซล์ฟ (Hiringsolve) ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับงานเก็บข้อมูลเล็กๆ จากการจ้างงาน โดยอาศัยโพรไฟล์ของผู้สมัครงานกว่า 10,000 คน ที่ยอมให้บริษัทเปิดเผยตัวตน ในช่วงปี 2016-2017 ที่สนใจทำงานในบริษัทเทคโนโลยี และถูกจ้างงานในช่วงปี 2016 จนกระทั่งถึง 2017
พบว่ามหาวิทยาลัย 25 แห่ง ที่ถูกจ้างงานในอุตสาหกรรมมากที่สุด 5 อันดับแรกนั้นไม่มีมหาวิทยาลัยดังๆ หรือที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยระดับ “ไอวี่ลีค” (Ivy League)
อยู่เลย
ชื่อที่เราคุ้นเคยอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยพริ้นซ์ตัน มหาวิทยาลัยบราวน์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยคอร์แนล มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาธ์หรือมหาวิทยาลัยเพนซิลเวอร์เนีย ก็ไม่ติดใน 5 อันดับแรก
ทำถึงเป็นเช่นนั้น
สิบอันดับแรกของมหาวิทยาลัยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีให้ความสนใจ
บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีให้ความสนใจที่จะจ้างงานศิษย์เก่าที่จบมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้มากที่สุดในปี 2017 มีดังนี้
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์คเลย์ (University
of California, Berkeley)
- มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford
University)
- มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลลอน (Carnegie
Mellon University)
- มหาวิทยาลัยเซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย (University
of Southern California)
- มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน (The
University of Texas at Austin)
- สถาบันเทคโนโลยี จอร์เจียเทค (Georgia
Institute of Technology)
- มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วิทยาเขตเออร์บาน่า แชมเปญ (University
of Illinois at Urbana-Champaign)
- มหาวิทยาลัยซาน
โจเซ่
(San Jose State University)
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแซน ดิเอโก้ (University
of California, San Diego)
- มหาวิทยาลัยแอรืโซน่า (Arizona
State University)
จะเห็นว่าสิบอันดับแรกมีมหาวิทยาลัยระดับท็อปอยู่สองแห่ง คืออันดับหนึ่งและสอง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะทั้งเบิร์กเลย์และสแตนฟอร์ดมีคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่โดดเด่นในเขตเบย์เอเรีย
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ
ศิษย์เก่าหลายๆ คนที่จบจากมหาวิทยาลัยสองแห่งนี้ต่างวนเวียนและมีบทบาทอย่างสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของซิลิคอน วัลเลย์ เช่น โจ เฮนเนสซี่ (Joe
Hennessy) ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่เป็นที่รู้จักกันดีในซิลิคอน วัลเลย์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์อยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ หรือ อีวาน สไปเกิ้ล (Evan
Spiegle) ผู้ก่อตั้งสแนปแชท (Snapchat) ก็จบจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ฉะนั้นแล้วนอกเหนือจาก ความเก่งของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย สายสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ประกอบการ ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการที่ฝ่ายบุคคลหรือคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจจะรับพนักงานที่จบจากมหาวิทยาลัยแห่งไหนบ้างเข้ามาทำงาน หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและได้รับความน่าเชื่อถือมากก็คือ บริษัทเหล่านี้มักมองหารุ่นน้องที่จบมาจากที่เดียวกันก่อนหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ มีการทำโครงการบางอย่างร่วมกัน เช่น โครงการรับนักศึกษาเข้ามาฝึกงาน หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านต่างๆ ที่ทำต่อเนื่องกันมา เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักเขียนโปรแกรม นักพัฒนาแอปพลิเคชัน นักออกแบบ นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือหุ่นยนต์ เหล่านี้ล้วนเป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน ฉะนั้นบริษัทใหญ่ๆ และมหาวิทยาลัยต่างก็พยายามที่จะทำงานร่วมกันเพื่อคัดเลือกมือดีที่สุดเข้ามาทำงาน
อีกประการหนึ่งหากเราดูจากการจัดอันดับ
10 มหาวิทยาลัยที่อยู่ในลิสต์ ข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยในสิบอันดับแรกก็คือ ‘ขนาด’ ของมหาวิทยาลัย พูดง่ายๆ ก็คือ
ยิ่งมหาวิทยาลัยมีขนาดใหญ่เท่าไหร่
ก็มีโอกาสที่นักศึกษาจะได้งานมากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง
มหาวิทยาลัยแอริโซนามีนักศึกษากว่า
72,000 คน มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสตินมีนักศึกษาอยู่กว่า 51,000 คน เฉพาะมหาวิทยาลัยซาน โจเซ่ (อันดับ 8)
มีนักศึกษาที่จบการศึกษาด้านวิศวกรรมกว่า 7,000 คนต่อปี ด้วยจำนวนขนาดนี้ ทำให้ทั้งบริษัทและมหาวิทยาลัยมีตัวเลือกในการเลือกพนักงานที่เหมาะกับธุรกิจของพวกเขาจริงๆ
และเมื่อดูในอันดับถัดๆ
ไปในอันดับ
11-25 เราจะเริ่มเห็นมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับไอวี่ลีค โผล่มาบ้าง เช่น มหาวิทยาลัยคอร์แนลอยู่อันดับ 15 เอ็มไอที (Massachusetts
Institute of Technology) ในอันดับที่
20 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวอร์เนียอยู่ในอันดับที่ 25 ซึ่งต่ำกว่ามหาวิทยาลัยเล็กๆ อย่าง มหาวิทยาลัยซานตา คราร่า ซึ่งอยู่ในอันดับ 21 เสียอีก
ข้อมูลนี้ทำให้เราเห็นว่า
ความสำเร็จของการศึกษาโดยเฉพาะในมหาวทยาลัยชื่อดังไม่ได้เป็นสิ่งที่รับประกันเสมอไปว่าคุณจะได้งานในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เพราะบริษัทเหล่านี้อาจมองหาพนักงานที่ไม่ได้เพียงแค่ “เก่ง” หรือจบจากมหาวิทยาลัยดังๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ฝ่ายบุคคลต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น
เรื่องความสะดวกสบายในการเดินทางไปทำงาน (แม้ว่าแนวโน้มนี้อาจลดลง แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่บริษัทใหญ่ๆ ให้ความสำคัญ ปัจจุบันบริษัทอย่างอัลฟาเบทหรือเมต้า เริ่มเรียกพนักงานของบางส่วนกลับเข้ามาทำงานในบริษัท โดยมีสิ่งจูงใจเช่น อาหารกลางวันและเครื่องดื่มฟรี) แนวโน้มการเปลี่ยนงานของพนักงานในอนาคต (จากข้อมูลพบว่านักศึกษาจากมหาวิทยาลัยระดับไอวี่ลีคมีแนวโน้มในการเปลี่ยนงานมากกว่า) หรือความสัมพันธ์อันดีของบริษัทกับชุมชน (เช่น มหาวิทยาลัยซานตา คลาร่า ซึ่งอยู่ห่างจากสำนักงานใหญ่ของแอปเปิ้ลเพียง 6 ไมล์ บริษัทมีความคิดเรื่องของการเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต) หรือความสัมพันธ์ของศิษย์เก่าและงานด้านการวิจัยที่บริษัทได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยนั้นๆ ต่างเป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อยกว่าชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
และที่สำคัญมหาวิทยาลัยระดับไอวี่ลีค
อาจไม่ได้โด่งดังในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากนักและจำนวนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้รับได้ต่อปีเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็ไม่ได้มาก
แล้วถ้าหากเราถอยห่างออกมาจากซิลิคอน วัลเลย์และมองภาพกว้างขึ้นว่า บริษัทบิ๊กเนม
และแสนจะไฮเทคเหล่านี้ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วอเมริกาและทั่วโลก ไม่ได้มีแต่เฉพาะซิลิคอน วัลเลย์ล่ะ ข้อมูลที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
มหาวิทยาลัยไหนบ้างที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเทคโนโลยีระดับท็อปของโลก
ในปี 2019 ที่ผ่านมา เพย์ซา (Paysa) บริษัทจัดหางานนำเอาใบสมัครงานกว่า 286,000 ชิ้น มาวิเคราะห์ว่ามีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเทคโนโลยีระดับท็อปของโลก
- อันดับหนึ่ง ตกเป็นของ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (The
University of Washington)
ในซีแอทเทิล
แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากซีแอทเทิลเป็นที่ตั้งของบริษัทยักษ์ใหญ่สองแห่ง
ก็คือแอมะซอนและไมโครซอฟท์
มหาวิทยาลัยมีสายสัมพันธ์อันดีในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเมืองที่ได้รับการยอมรับและเป็นแหล่งหาคนเก่งๆ ของสองยักษ์ใหญ่ โดยไมโครซอฟท์รับพนักงานที่จบมาจากที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันมากที่สุด
- อันดับถัดมา เป็นของ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน ในพิตช์เบิร์กใครหลายคนอาจเริ่มคุ้นชื่อกับมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งนี้มาบ้าง เนื่องจากมีการจัดตั้งสาขาในประเทศไทย
โดยร่วมมือกับสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดสอนบางสาขาวิชาที่กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนและโดดเด่นอย่างมากเรื่องหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- อันดับถัดมา เป็นชื่อที่เราคุ้นเคยกันดี อย่าง สแตนฟอร์ด เบิร์กเลย์และเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย ซึ่งทั้งสามมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย
บริษัทไหน จ้างพนักงานจากมหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด
ในปี 2019 ที่ผ่านมา เพย์ซา (Paysa) บริษัทจัดหางานนำเอาใบสมัครงานกว่า 286,000 ชิ้น มาวิเคราะห์ว่า บริษัทไหน จ้างพนักงานจากมหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด
หากเข้าไปดูสถิติว่าบริษัทเทคโนโลยีไหนจ้างคนที่จบจากมหาวิทยาลัยไหนมากที่สุดในปีที่แล้ว จะพบว่า แอปเปิ้ล อัลฟาเบท เมต้า
และสแนปแชท (Snapchat)
จ้างงานจากคนที่จบจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มากที่สุด (ราว 3-5%
ของพนักงาน)
สแนปแชท นั้นจ้างพนักงานที่จาก สแตนฟอร์ด สูงมากที่สุดคือ 16%
ส่วนหนึ่งมาจากหนึ่งในผู้ก่อตั้ง อีวาน สไปเกิล จบจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ไมโครซอฟท์และแอมะซอนจ้างพนักงานที่จบมาก มหาวิทยาลัยวอชิงตัน มากที่สุด (5-6%) ส่วนแอปพลิเคชันอย่าง เยลป์ (Yelp) ทวิตเตอร์ (Twitter) และลิงค์อิน (LinkdIn) จ้างพนักงานที่จบจาก มหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ มากที่สุดราว 8-10%
ของพนักงานใหม่
พินเทอเรส (Pinterest)
รักใคร่กับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน
พวกเขาจ้างพนักงานที่จบจากที่นี่มากที่สุด (แต่ผู้ก่อตั้งทั้งหมดจบจากมหาวิทยาลัยเยล) คิดเป็นสัดส่วนราว 10%
ของพนักงาน หากดูให้ลึกลงไปอีก
ดูว่าบริษัทไหนกันที่ได้นักศึกษาระดับหัวกะทิเหรียญทอง ไปทำงานด้วยมากที่สุด ก็จะพบว่าเป็น อัลฟาเบธ ที่สามารถคว้าตัวนักศึกษาระดับหัวแถวได้มากที่สุด รองลงมาก็คือ ไมโครซอฟท์ แอมะซอน ซิสโก้ (Cisco) และเจนเนอรัล
มอเตอร์
(GM-General Motors)
จะเห็นได้ว่ามิติของการหางานและได้งานทำในสหรัฐอเมริกานั้นมีหลากหลายมิติมาก ท้ายที่สุดแล้วเราอาจไม่สามารถตัดสินการได้งานในบริษัทเหล่านี้ได้แค่เพียงว่าเราจบจากมหาวิทยาลัยไหนเพียงเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เราต้องคิดถึง
สิ่งสำคัญมากกว่าที่ต้องคิด
หากต้องการวางแผนการศึกษาให้กับลูกๆ คือให้มองความสนใจของลูกๆ ก่อน จากนั้นลองดูว่ามันเป็นงานที่มีแนวโน้มจะโดนหุ่นยนต์แทนที่ไหม แล้วดูว่าหากลูกๆ
เป็นคนที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยไหนที่เหมาะมากที่สุด
เมื่อเจอมหาวิทยาลัยที่ใช่
และได้เรียนในสิ่งที่ลูกๆ ชอบ แล้วงานที่ดีจะมาหาเอง
อ้างอิง
- http://hennessy.stanford.edu/biography/
- https://en.wikipedia.org/wiki/Evan_Spiegel
- https://en.wikipedia.org/wiki/Pinterest
- https://en.wikipedia.org/wiki/Snap_Inc.
- https://qz.com/967985/silicon-valley-companies-like-apple-aapl-hires-the-most-alumni-of-these-10-universities-and-none-of-them-are-in-the-ivy-league/
- www.crimsoneducation.org/uk/blog/top-5-universities-major-tech-companies-hire-from
- www.entrepreneur.com/article/296110
- www.paysa.com/blog/top-colleges-in-tech/

