ออร์กนีย์และโยโกฮามา เมืองต้นแบบพลังงานไฮโดรเจน เพื่อโลกในอนาคต
ทุกวันนี้
ไปไหนใครๆ ก็พูดถึงแต่ พลังงานไฮโดรเจน ว่าจะเป็นอัศวินม้าขาว
มาช่วยกู้โลกในยุคที่เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงได้
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นั่นก็เนื่องมาจากว่า พลังงานไฮโดรเจน
เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติหลากหลายประเภท เช่น
ลม น้ำ หรือคลื่น และเมื่อเกิดการเผาไหม้
ก็จะมีเพียงน้ำและออกซิเจนเท่านั้นที่เป็นผลพลอยได้ แตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่นๆ
ที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเร็วและแรง
จนทำให้โลกร้อนและสิ่งแวดล้อมเสียหาย
นอกจากนี้
พลังงานไฮโดรเจน ยังให้ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงกว่าค่าพลังงานชนิดอื่น
ไม่ก่อให้เกิดกลุ่มควันฝุ่นละออง สามารถประยุกต์ใช้กับงานที่ใช้พลังงานดั้งเดิม
และนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิงได้ด้วย
น่าทึ่งกว่านั้นคือ
คุณสมบัติของพลังงานไฮโดรเจน ยังไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย และมีความสะอาดสูง
ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานนี้ก็เลยถูกยกให้เป็น พลังงานแห่งอนาคต
ที่สำคัญต่อโลกอย่างยิ่ง
โดยหลายปีมานี้
หลายประเทศที่พัฒนาแล้ว
ก็ได้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตพลังงานไฮโดรเจนกันอย่างจริงจัง เช่น สหรัฐอเมริกา
เยอรมนี อังกฤษ สกอตแลนด์ และญี่ปุ่น
สำหรับสกอตแลนด์นั้น
เมืองที่เป็นต้นแบบอยู่ที่ออร์กนีย์ (Orkney) หมู่เกาะเล็กๆ ทางตอนเหนือ
ที่ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยถึง 70 เกาะ
แต่เกาะที่มีคนอยู่อาศัยมีประมาณ 20 เกาะ
ซึ่งเแต่เดิมหมู่เกาะนี้จะพึ่งพาพลังงานถ่านหินและแก๊สจากแผ่นดินใหญ่ของสกอตแลนด์ผ่านทางสายเคเบิลใต้ทะเล
แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นมา ที่นี่ได้หันมาริเริ่มการใช้พลังงานทดแทน
เพื่อนำร่องสู่การเป็นเมืองหรือหมู่เกาะไร้สารคาร์บอน
ด้วยการติดตั้งกังหันลมจำนวนมาก เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองจากพลังงานธรรมชาติ
ทั้งพลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานคลื่น โดยเฉพาะพลังงานลม
ที่มีพลังมากขนาดหมุนกังหันลมขนาดเล็กได้ถึง 700 ตัว
ทั้งนี้เนื่องจากออร์กนีย์มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบต่ำ
ขนาบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเหนือ ทำให้มีพลังงานลมสูงมากนั่นเอง
ส่วนพลังงานน้ำและพลังงานคลื่นที่ออร์กนีย์ก็มีสูงมากเช่นกัน
เมื่อนำมารวมกันจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเหลือเฟือเกินกว่าความต้องการใช้ถึง
120% ซึ่งส่วนหนึ่งมีการนำไปใช้กับคนบนเกาะ
เรือที่จอดเทียบท่าที่ท่าเรือออร์กนีย์
และรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับไปใช้บริการที่สถานีชาร์จไฮโดรเจนหลายแห่งบนเกาะ
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งที่เกินกว่าความต้องการ
ก็มีการกักเก็บพลังงานไว้ในรูปของก๊าซไฮโดรเจน สำหรับใช้ในยามจำเป็น
อย่างไรก็ตาม
ก๊าซไฮโดรเจนน้อยนักจะอยู่อย่างอิสระ ส่วนมากมักรวมตัวกันกับองค์ประกอบอื่นๆ
อย่างเช่นออกซิเจน ในกระบวนการกักเก็บ จึงต้องใช้นวัตกรรมที่มีชื่อว่า
อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) มาแยกไฮโดรเจน (H2) ออกมาจากออกซิเจน (O2) แล้วบีบอัดอย่างระมัดระวังไปเก็บไว้ในถัง
ส่วนออกซิเจนจะถูกปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนวัตกรรมอิเล็กโทรลิซิสนี้
ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเยอะมาก ซึ่งหากเป็นกระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งพลังงานสะอาด
ก็จะส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสียหายหนัก แต่กระแสไฟฟ้าจากออร์คนีย์เป็นพลังงานสะอาด
ได้มาจากพลังงานลม น้ำ และคลื่น ดังนั้นกระบวนการแยกไฮโดรเจนออกมากักเก็บไว้
จึงสะอาด ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ
และไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาทำให้โลกเกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับที่เมืองโยโกฮามา
(Yokohama) ในจังหวัดคานางาวะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ก็เป็นเมืองนำร่องด้านการนำพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้
ในช่วงไล่เลี่ยกับออร์คนีย์ โดยมีการใช้พลังงานลมมาผลิตกระแสไฟฟ้า
ซึ่งพลังงานลมนี้ได้มาจากการสร้างฮามะ วิงส์ (Hama Wings)
หรือกังหันลมขนาดยักษ์ เพื่อเป็นต้นกำเนิดพลังงานลมตามธรรมชาติ ที่จัดว่าใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะมีความสูงจากฐานถึงยอด 78 เมตร
และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดกังหันกว้าง 80 เมตร
จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโยโกฮามาไปเลย แต่ต่อมามีการสร้างฮามิ วิงส์ ระลอกสอง
ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม 4 เท่า
ทำให้กังหันลมใหม่ทำลายสถิติกังหันลมเก่า และขึ้นแท่นเป็นกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน
สำหรับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้
จะอยู่ที่ประมาณ 2
แสนยูนิต มีการนำไปใช้กับภาคครัวเรือนของชาวโยโกฮามา ประมาณ 10% และอีก 90% นำไปขายในเชิงพาณิชย์
นำรายได้เข้าสู่เมืองถึงปีละ 20 ล้านเยนทีเดียว
จึงทำให้เมืองโยโกฮามามีการวางแผนที่จะต่อยอดการสร้างสถานีผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นอีก
จึงเห็นได้ว่า
เมืองทั้งสองแห่งเป็นต้นแบบของเมืองไฮโดรเจน ที่นำร่องมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ
ของการจุดกระแสพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ
และประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักอย่างมากมาย
แนวคิดเรื่องเมืองแห่งพลังงานไฮโดรเจน
ก็เลยเป็นความหวัง เป็นอนาคตของโลกในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
เมืองไหนใครสร้างพลังงานนี้ขึ้นมา นอกจากได้พลังงานสะอาดๆ
ตามวัตถุประสงค์หลักมาใช้แล้ว
แน่นอนว่า
ยังจะได้ภาพลักษณ์ของเมือง Eco Friendly ไปเต็มๆ ด้วย
ข้อมูลอ้างอิง : www.brandbuffet.in.th, www.urbancreature.co