การผลิตแผ่นฟิล์มปิดแผลจากเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum ร่วมกับไคโตซานและคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มที่ได้

โดย นาง (รศ)ดวงใจ โอชัยกุล
หมวดหมู่
รายงานการวิจัย
ประเภทสื่อ eBook

0 (0 รีวิว)
จำนวนคงเหลือ :
Share
รายละเอียด
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตแผ่นฟิล์มเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรีย ร่วมกับสารละลายไคโตซาน โดยวิธีเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย และนำสารละลายไคโตซานมาผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าที่ความเข้มข้นของสารละลายไคโตซาน ร้อยละ 0.4 เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ความหนาของแผ่นฟิล์ม ทั้งแผ่นเปียกและแผ่นแห้งสูงสุด คือ 0.212 มิลลิเมตร และ 0.050 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มที่ได้พบว่า มีค่าแข็งแรงดึงสูงสุดของแผ่นเปียกเท่ากับ 3.92?1.74 MPa ค่ามอดุลัสของยังของแผ่นแห้ง มีค่าเท่ากับ 1,142.85?82.07 MPa นอกจากนี้เมื่อนำแบคทีเรียที่ก่อโรคทั้ง 7 ชนิด มาทดสอบการซึมผ่านบนแผ่นฟิล์มในลักษณะแห้งพบว่าไม่สามารถซึมผ่านแผ่นฟิล์มได้

ABSTRACT This research aimed to study the film preparation from bacterial cellulose Acetobacter xylinum TISTR 976 mixed with Chitosan solution in media. It was found that Chitosan solution at 0.4% concentration gave the optimum properties. Its wet film and dry filmhad thickness about 0.212 mm and 0.050 mm, respectively. Tensile strength values of the wet film and the dry film were 3.92?1.74 MPa and 20.93?3.23 MPa, respectively. Young’s modulus values of the wet one and the dry one were 26.53?6.91MPa and 1,142.85?82.07 MPa, respectively. In addition, the dry film were tested with 7 bacterial types and it did not allow any bacterial passing through itself.
ข้อมูลเพิ่มเติม
วันที่เผยแพร่ 11/2021
สำนักพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หมวดหมู่ รายงานการวิจัย
จำนวนหน้า 77012
People Who Read This Also Read
รีวิว
Ask OKMD AI