Description
การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างมาตรฐาน (FRM) ได้ดำเนินการในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี (2563 – 2564) เก็บตัวอย่างจากแหล่งกำเนิดที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกิจกรรมอุตสาหกรรม การปิ้งย่าง ก่อสร้าง ตัวอย่างจากกรุงเทพฯ เป็นของสถานีฯ ดินแดง กรมประชาสัมพันธ์ บางนา (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ 2561-2562) นำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในกลุ่มไอออนละลายน้ำ 10 ชนิด ธาตุ 21 ชนิด สารอินทรีย์คาร์บอนและธาตุคาร์บอน รวมทั้งประเมินการเคลื่อนที่ของการจราจรบนถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและกาญจนาภิเษกระดับ PM2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกิดขึ้นบางวันในช่วงฤดูหนาว แต่ระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ปัจจัยของแหล่งกำเนิดเสริมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่จำกัดการเคลื่อนที่และระบายอากาศมีส่วนสำคัญต่อการสะสม PM2.5 ฝุ่นทุติยภูมิและการเผาไหม้มีสัดส่วนสูงร้อยละ 21 - 31 ของน้ำหนัก PM2.5 ลักษณะของความสัมพันธ์ของแก๊สตั้งต้นและฝุ่นทุติยภูมิค่อนข้างชัดเจนในพื้นที่มีเมืองที่มีอุตสาหกรรม (สมุทรสาคร สมุทรปราการ) สังเกตได้จากระดับของซัลเฟตไอออนที่พบในปริมาณสูงกว่าไอออนละลายน้ำชนิดอื่นในทุกสถานีฯ และทุกฤดูกาล ปริมาณของสารอินทรีย์คาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักของ PM2.5 ตามด้วยซัลเฟตไอออน และธาตุคาร์บอน ธาตุปริมาณน้อย 5 ชนิด เป็นกลุ่มธาตุหลักพบในระดับสูงกว่าธาตุอื่น ได้แก่ B Al Fe Zn และ Pb โดยเฉลี่ยมีเหล็ก (Fe) สูงกว่าธาตุอื่นในทุกจังหวัดในระดับนาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มธาตุรองมีทองแดง แมงกานีส แบเรียม พลวง นิกเกิล ลักษณะสัณฐานของ PM2.5 ไม่มีรูปร่างแน่นอน มักเกาะกลุ่มรวมกัน ลักษณะทางเคมีของแหล่งกำเนิด (source profiles) แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด เช่น การเผาไหม้น้ำมันเตามีวาเนเดียมสูง การเผาไหม้ชีวมวลมีโพแทสเซียมสูง การหาสัดส่วนแหล่งกำเนิดด้วยแบบจำลอง PMF พบว่า PM2.5 มีแหล่งกำเนิดเปลี่ยนไปตามพื้นที่และฤดูกาล ในภาพรวมพบว่า สถานีฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแหล่งกำเนิดหลักที่สำคัญหลัก คือ การจราจร ฝุ่นทุติยภูมิโดยเฉพาะซัลเฟต การเผาชีวมวล การเผากากของเสีย ผสมกับฝุ่นจากการฟุ้งกระจายจากถนนและเศษดิน พื้นที่ปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลัก คือ ฝุ่นทุติยภูมิ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในการประกอบกิจการ การเผาชีวมวล การเผากากของเสีย การฟุ้งกระจายของเศษดินจากถนนหรือพื้นผิวในช่วง PM2.5 สูง การลดปริมาณจราจร และการเผาไหม้เชื้อเพลิงน่าจะช่วยลดระดับการสะสม PM2.5 ลงได้ ทั้งนี้ การควบคุมฝุ่นทุติยภูมิที่มีสัดส่วนในช่วงร้อยละ 21 – 31 ต้องคำนึงถึงการลดปริมาณแก๊สตั้งต้น (precursors) โดยเฉพาะแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ปัญหาการสะสม PM2.5 ลดลงในช่วงในฤดูร้อนและฝน<br><br>FRM samplers were used as the primary tool for collecting airborne PM2.5 in Samut Prakarn, Samut Sakhon, Nakhon Pratom, Nonthaburi, and Patum Thani (2020 - 2021). Bangkok data were from PCD study in 2018 – 2019, Source sampling of PM2.5 was performed at facilities that utilize fuel oil, diesel, natural gas (LPG), and coal as the primary fuels. The sampling was also conducted at industrial settings, construction sites, and experimental charcoal grilling of meat. All samples were later analyzed for 10 water soluable ions, 21 elements, organic and elemental carbon. Scanning electron microscope was used to examine particle morphology and its composition. Traffic mass flow was evaluated on two ring-roads, Ratchadaphisek and Kanjanaphisek. Levels of PM2.5 exceeded 50 ug/m3 on some days in winter, but the changes varied at each site. Local source strength influenced the level of changes in PM2.5 concentrations and limited vertical dispersion in the atmosphere and low wind speed exacerbated the accumulation of PM2.5 in the study areas. Secondary PM2.5 and combustion activities accounted about 24% – 35% of mass in December. Precursor gases related quit well with the secondary PM2.5 in urban location mixed with industries (Samut Prakarn, Samut Sakhon). High sulfate levels were found in all sites and seasons. Morphology of PM2.5 showed irregular shapes, mostly aggregates of small particles. Source profiles were mostly differentiated by chemical components. For example, fuel oil combustion has high vanadium and biomass combustion has high potassium content. Source apportionment by the PMF model indicated spatial and temporal variations of source contributions. Bangkok sites generally has traffic, secondary (mainly sulfate) aerosols, biomass burning, waste burning, fugitive and road dust as the main sources. Other nearby provinces have secondary aerosols, fuel combustion, biomass and waste burning, re-suspended dust as the main sources. During the month of high PM2.5, reduction of traffic and fuel combustion will result in lower PM2.5 concentrations. However, control of secondary aerosols requires the reduction of precursor gases, especially SO2. PM2.5 concentrations were within the daily standard during summer and rainy seasons.
Date of Publication :
05/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77013 pages
People Who Read This Also Read