2. ประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ของกรมปศุสัตว์ในสภาพฟาร์มเกษตรกร (2.3. ประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรลูกผสมสองสาย พันธุ์ลาร์จไวท์สายพันธุ์แคนาดาและพันธุ์ แลนด์เรซสายพันธุ์เยอรมัน-ไอร์แลนด์ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวางในสภาพฟาร์มเ

โดย นางสาวสรรทยา อินทจินดา
หมวดหมู่
รายงานการวิจัย
ประเภทสื่อ
eBook
0
(0 รีวิว)
จำนวนคงเหลือ
:
Share
รายละเอียด
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ ระหว่างพันธุ์ลาร์จไวท์สาย
พันธุ์แคนาดา และพันธุ์แลนด์เรซสายพันธุ์เยอรมัน-ไอร์แลนด์ (LW-C x LR-GI) ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จำนวน 20 ตัว กลุ่ม 1 เลี้ยงทดสอบในฟาร์มของสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี และ กลุ่ม 2 เลี้ยงดูที่ฟาร์มเกษตรกรเครือข่าย จ.กาญจนบุรี กลุ่มละ 10 ตัว เก็บข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโต และสมรรถภาพการสืบพันธุ์ ในระหว่างปี 2550-2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Least Square analysis เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจบางประการ มีปัจจัยคงที่คือ สถานที่เลี้ยง ปีที่ศึกษา และลำดับครอกที่คลอด ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโต (ADG) ของ กลุ่ม 1 มีค่ามากกว่ากลุ่ม 2 (P<0.05) เท่ากับ 753.81 และ 612.37 กรัม/วัน ขณะที่ลักษณะอื่น ๆ ที่ศึกษามีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คือประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (FCR) ของกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 เท่ากับ 2.24 และ 2.34 ความหนาไขมันสันหลัง (BF) เท่ากับ 0.83 และ 0.86 เซนติเมตร พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (LEA) เท่ากับ 42.54 และ 43.11 ตารางเซนติเมตร และความยาวลำตัว เท่ากับ 114.60 และ 112.40 เซนติเมตร ตามลำดับ
ด้านประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ พบว่า สถานที่เลี้ยง ปีที่ศึกษา และลำดับครอกที่คลอด ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการผลิตในทุกลักษณะที่ศึกษา (P>0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ดังนี้ จำนวนลูกเกิด 9.86 และ 10.79 ตัว จำนวนลูกเกิดมีชีวิต 9.17 และ 10.42 ตัว น้ำหนักครอกเมื่อแรกเกิด 12.14 และ 15.55 กก. น้ำหนักแรกเกิดต่อตัว 1.30 และ 1.54 กก. น้ำหนักครอกเมื่อหย่านม 55.65 และ 63.75 กก. น้ำหนักหย่านมต่อตัว 6.66 และ 7.11 กก. จำนวนลูกหย่านม 9.21 และ 9.32 ตัว และจำนวนลูกหย่านมต่อแม่ต่อปี 20.83 และ 20.73 ตัว ตามลำดับ ดังนั้นสุกรที่มีพันธุกรรมจากสุกร กรมปศุสัตว์ สามารถปรับตัวและ นำไปใช้เพิ่มผลผลิตสุกร ให้กับฟาร์มเกษตรกรเครือข่ายได้เป็นอย่างดี จากลักษณะต่างๆ ที่ทำการศึกษามีค่าไม่แตกต่างกับที่เลี้ยงในสถานีวิจัย ฯ ทดสอบพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี
This study was aimed to compared productive performance of Canada Large white Lines x German-Ireland Landrace Lines (LW-C x LR-GI) of Nongkwang Livestock Breeding and Research Center. Twenty female pigs were divided into two groups and reared in two places condition. One group was in Suphanburi Livestock Research and Testing Station condition (Swine production unit of Nongkwang Livestock Breeding and Research Center) (Group1) . Another group was in Contacted Farm condition (Group2). The data was collected during 2007-2009, and analyzed by least square analysis method. There were three fixed effects in the model, 2 places 3 years and 4 parities. The growth performance showed that the average daily gain of group 1 higher than group 2 (753.81 and 612.37 g/d) (P<0.05). Feed conversion ratio (2.24 and 2.34), back fat (0.83 and 0.86 cm.), loin eye area (42.54 and 43.11 cm2) and body length (114 and 112.40 cm.) were not significantly different between two groups (P>0.05). The productive performance showed that the fixed effects were not significantly different in all traits between two groups (P>0.05), number of pig born (9.86 VS 10.79 head), number of pig born alive (9.17 VS 10.42 head), birth weight (1.3 VS 1.54 kg), litter weight at birth (12.14 VS 15.55 kg), number of pig at weaned (9.21 VS 9.32), weaned weight (6.66 VS 7.11 kg), litter weight at weaned (55.65 VS 63.75 kg), and weaned pig per sow per year (20.83 VS 20.73 head) respectively. Therefore, the genetics of swine of Nongkwang Livestock research and breeding Center could be disseminated on contacted farm which could be useful for them.
This study was aimed to compared productive performance of Canada Large white Lines x German-Ireland Landrace Lines (LW-C x LR-GI) of Nongkwang Livestock Breeding and Research Center. Twenty female pigs were divided into two groups and reared in two places condition. One group was in Suphanburi Livestock Research and Testing Station condition (Swine production unit of Nongkwang Livestock Breeding and Research Center) (Group1) . Another group was in Contacted Farm condition (Group2). The data was collected during 2007-2009, and analyzed by least square analysis method. There were three fixed effects in the model, 2 places 3 years and 4 parities. The growth performance showed that the average daily gain of group 1 higher than group 2 (753.81 and 612.37 g/d) (P<0.05). Feed conversion ratio (2.24 and 2.34), back fat (0.83 and 0.86 cm.), loin eye area (42.54 and 43.11 cm2) and body length (114 and 112.40 cm.) were not significantly different between two groups (P>0.05). The productive performance showed that the fixed effects were not significantly different in all traits between two groups (P>0.05), number of pig born (9.86 VS 10.79 head), number of pig born alive (9.17 VS 10.42 head), birth weight (1.3 VS 1.54 kg), litter weight at birth (12.14 VS 15.55 kg), number of pig at weaned (9.21 VS 9.32), weaned weight (6.66 VS 7.11 kg), litter weight at weaned (55.65 VS 63.75 kg), and weaned pig per sow per year (20.83 VS 20.73 head) respectively. Therefore, the genetics of swine of Nongkwang Livestock research and breeding Center could be disseminated on contacted farm which could be useful for them.
ข้อมูลเพิ่มเติม
วันที่เผยแพร่ | 10/2021 |
สำนักพิมพ์ | กรมปศุสัตว์ |
หมวดหมู่ | รายงานการวิจัย |
จำนวนหน้า | 77012 |
People Who Read This Also Read
รีวิว