Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

Earth Observation เทคโนโลยีสังเกตโลกเพื่อมองหาสิ่ง...

14 สิงหาคม 2024 76 อ่านข่าวนี้ 3 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การเติบโตอย่างยั่งยืน  
หมวดหมู่ : #18.4การจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 


จะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถสังเกตโลกจากภายนอกไม่ต้องเป็นถึงนักอวกาศ แต่เทคโนโลยีการสังเกตการณ์โลก (Earth Observation) ก็สามารถทำได้ เพราะ Earth observation (EO) คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสำรวจระยะไกลหรือดาวเทียม สำรวจข้อมูลความเป็นไปของโลก เพื่อการตรวจและวิเคราะห์โลกใบนี้ เพื่อดูแลโลกใบนี้และป้องกันสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของโลก

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีการสังเกตการณ์โลกได้ทำลายขีดจำกัดของเทคโนโลยีที่ในอดีตอาจมองว่าเป็นไปไม่ได้ เครื่องมือนี้ทำให้นักธรณีวิทยาการขยับตัวของโลก นักวางผังเมืองสามารถดูผังเมืองและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งยังช่วยคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่เป็นภัยพิบัติธรรมชาติได้ด้วย ในเชิง ‘เกษตรกรรม’ Earth Observation สามารถสำรวจพื้นที่ระยะไกล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปลูกพืช การประมง ปศุสัตว์ และป่าไม้ สามารถนำมาวางแผนและการลงทุนปัจจัยการผลิต มองหาช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปุ๋ยได้มากถึง 27 ล้านตันต่อปี สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ของ ‘ภัยธรรมชาติ’ ได้ในระยะไกล เพราะเทคโนโลยีการสังเกตการณ์โลกสามารถจำลองกรณีที่เลวร้ายที่สุดได้ ดูโครงสร้างที่ดิน และพืชพรรณได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถเตรียมพร้อมกับภัยพิบัติได้ดีขึ้น เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และพายุเฮอริเคนที่เกิดขึ้น สำหรับไฟป่านั้นมีแอปพลิเคชันแจ้งเตือนล่วงหน้าซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 64 ล้านตันต่อปี มากกว่านั้นยังสามารถ ‘ติดตามและจัดการมลพิษทางอากาศ’ ได้ หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ โครงการ SMURBS ที่มีเป้าหมายส่งเสริมแนวคิด ‘เมืองอัจฉริยะ’ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจจากดาวเทียม ที่มีหนึ่งในวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดการ มลพิษทางอากาศ ภัยพิบัติ การเติบโตของเมือง แต่ก็คำนึงถึงอัตราการเติบโตของเมืองที่มีอยู่ และผลกระทบในระยะยาว

อีกทั้งยังช่วย ‘วิเคราะห์การขยายตัวของเมือง’ เนื่องจากดาวเทียมสามารถถ่ายภาพพื้นที่ในเมืองได้และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมืองได้ตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีนี้ช่วยประเมินขนาดและรูปแบบการขยายตัวของพื้นที่เมือง เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น ‘TEP Urban’ ดึงข้อมูลจากดาวเทียม มีเครื่องมือในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่างๆ ได้ สามารถจัดการพื้นที่สีเขียว การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ หนึ่งในกรณีศึกษาสำคัญ คือ TEP Urban ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน เมืองมาดริดใช้ TEP Urban ในการติดตามและจัดการพื้นที่สีเขียวในเมือง และวางแผนการปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังช่วย ‘จัดการความร้อนในเมือง’ โดยใช้ Google Earth Engine ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการสังเกตการณ์โลกวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวดิน (LST) และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเมือง โดยดูประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียม ถึงจะยังไม่แพร่หลายในไทยมากนัก แต่การที่มีเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนและเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ก็อาจทำให้มนุษย์สามารถป้องกันภัยพิบัติได้ทันเวลาและวางแผนตอบโจทย์ชีวิตผู้คนที่มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป



แหล่งอ้างอิง :





URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ