Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

เจาะโมเดล Bio - Circular - Green (BCG) Economy ของ...

26 สิงหาคม 2024 31 อ่านข่าวนี้ 2 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การเติบโตอย่างยั่งยืน  
หมวดหมู่ : #18.5การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ 


โมเดล Bio - Circular - Green (BCG) Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยผสมผสานการพัฒนาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

เส้นทางของ BCG  Economy Model 

การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม APEC ในปี 2022 นอกจากเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาค ยังเป็นการนำเสนอกลยุทธ์ BCG  Economy Model ให้เป็นที่ยอมรับบนเวทีโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ให้เติบโต แข็งแกร่ง สมดุล ปลอดภัย ยั่งยืน มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้พร้อมกับรักษาสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและโลกอยู่ได้อย่างยั่งยืน 

กรอบแนวคิด BCG  Economy Model

เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน เปลี่ยนจากให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มาเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยผสมผสาน 3 ด้านหลัก ได้แก่

  • เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) คือ การใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดด้านทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้สารอาหารเพิ่มขึ้น เป็นต้น
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เช่น รีไซเคิล ทำปุ๋ย รวมทั้งลดของเสียเพื่อให้ระบบธรรมชาติฟื้นฟู มุ่งเน้นการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Waste) เช่น นำขยะมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
  • เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือ การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ควบคุมมลพิษและของเสีย จัดงานสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน BCG Economy Model

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG ได้แก่ 4 อุตสาหกรรม 

  1. การเกษตรและอาหาร เปลี่ยนจากผลิตสินค้าเกษตรและอาหารในปริมาณมากเป็นผลิตเป็นสินค้า พรีเมียมที่ผลิตน้อยแต่รายได้สูง เพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตร เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ
  2. สุขภาพและการแพทย์  ความสามารถในการผลิตยา อุตสาหกรรมชีวภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุที่ถูกฝังในร่างกาย พัฒนาวิธีการไปจนถึงรูปแบบการรักษาที่เปลี่ยนเป็นการแพทย์แม่นยำ มุ่งมั่นสู่การเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านสุขภาพของโลก 
  3. พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ   มุ่งเน้นความมั่นคงด้านพลังงาน ต่อยอดผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูงและโดดเด่น
  4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์  พัฒนาเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ใช้จุดแข็งของพื้นที่เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่นและบริหารจัดการรองรับนักท่องเที่ยวแบบที่มีประสิทธิภาพสูง 




BCG Economy Model สร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับเศรษฐกิจ

  • Smart Farm เทคโนโลยีสนับสนุนเกษตรกร ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของไทย ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และปริมาณคงที่ตามความต้องการของตลาด สามารถแปรรูปให้มูลค่าสูงขึ้นได้ 
  • แปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ สารแต่งกลิ่นรส อาหารเสริมสุขภาพ สารให้ความหวาน สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ฯลฯ ช่วยลดปัญหาราคาตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
  • ผลิตยา วัคซีน และชุดตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น ลดการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์
  • พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว บริหารจัดการเส้นทาง และจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่
  • สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน แปลงของเสียให้เป็นรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการเดิมในระบบ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาปิดช่องว่างการใช้ทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น และแก้ปัญหาขยะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

BCG Economy Model ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ถึง 5 เป้าหมายจาก 17 เป้าหมาย นั่นคือ การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย การร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งการใช้ BCG Economy Model ไม่เพียงสร้างระบบเศรษฐกิจปฏิรูปที่สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงความเท่าเทียมทางสังคม มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน 


อ้างอิง :

  •  https://fdi.co.th/th/blog/bio-circular-green-economy-หรือ-bcg-คืออะไร/#:~:text=เศรษฐกิจ%20Bio-Circular-Green%20หรือ%20BCG%20คือ%20ระบบเศรษฐกิจที่,เจาะลึกแต่ละองค์ประกอบกัน
  • www.apec.org/docs/default-source/publications/2022/8/understanding-the-bio-circular-green-(bcg)-economy-model/222_sce_understanding-the-bio-circular-green-economy-model.pdf?sfvrsn=2c33f891_2
  • www.bcg.in.th/background/
  • www.businesseventsthailand.com/th/support-solution/success-story/detail/636-what-is-bcg-economy-model-how-is-it-related-to-mice-industry
  • www.ftpi.or.th/2021/59799
  • www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/
  • www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/

URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ