Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

การพัฒนาเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน (Sustainable...

26 สิงหาคม 2024 43 อ่านข่าวนี้ 2 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การเติบโตอย่างยั่งยืน  
หมวดหมู่ : #18.3การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 


อุตสาหกรรมการบินส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากจากไอเสียของเครื่องบินที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยตรง การพัฒนาเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน หรือ SAF (Sustainable Aviation Fuel) จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเปิดโอกาสทางธุรกิจด้านพลังงาน

SAF เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนช่วยโลก

เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF เป็นเชื้อเพลิงอากาศยานที่ผลิตจากวัตถุดิบทดแทนที่สร้างใหม่ได้ อย่างขยะหมุนเวียน น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว หรือทรัพยากรชีวภาพ (Biological Resources) ที่ใช้แล้วไม่หมดไป ซึ่งผู้ผลิตต้องได้รับการรับรองและต้องได้มาตรฐานความยั่งยืนตามที่โครงการ CORSIA (Carbon Offsetting and Reduction Scheme) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization, ICAO) กำหนด เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่กำหนด รักษาคุณภาพดินและน้ำ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยให้การส่งเสริมการผลิต จัดหาวัตถุดิบการผลิต และใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมายาวนาน

หลากหลายวัตถุดิบผลิต SAF

ความพิเศษของ SAF คือสามารถใช้ในเครื่องบินที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิมได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือปรับแต่งระบบเชื้อเพลิงใด ๆ สะดวกกับอุตสาหกรรมการบิน มีวัตถุดิบที่หลากหลาย ได้แก่

  • วัสดุชีวมวล เช่น 
    ชีวมวลจากพืช อาทิ เมล็ดปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
    วัสดุทางการเกษตรไม่ใช้แล้ว อาทิ ซังข้าวโพด เศษหญ้า ฟางข้าว เศษไม้ ฯลฯ
  • ของเสีย เช่น น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ของเสียจากการเกษตร
  • สร้างเชื้อเพลิง โดยการดึง CO2 จากอากาศรวมกับไฮโดรเจนเพื่อผลิตเชื้อเพลิง

วิจัยพัฒนา SAF เพิ่มโอกาสลงทุนมุ่งสู่ Net Zero

หลายบริษัทพลังงานในไทยเริ่มวิจัยและพัฒนา SAF อย่างจริงจัง เพราะเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจสายการบินที่นอกจากต้องลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังต้องไปถึงเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ซึ่ง BSGF บริษัทร่วมทุนในไทยเป็นหน่วยแรกในประเทศไทยที่ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF ด้วยกำลังการผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน และผลิตจากน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารแล้วในครัวเรือนของประชาชนและภาคธุรกิจผ่านโครงการ ทอดไม่ทิ้งส่งเข้ากระบวนการผลิต ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบิน 8 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ทั้งพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมบนความสมดุลและยั่งยืน

รายงานของ cCarbon กลุ่มวิเคราะห์ความยั่งยืนในสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าการผลิตเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 30 เท่าภายในปี 2030 และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ระบุว่าการใช้เชื้อเพลิง SAF ช่วยลดความต้องการใช้เชื้อเพลิงการบินของสายการบินราว 65% ทิศทางการใช้งานเชื้อเพลิง SAF เพิ่มมากขึ้น


นโยบายเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เสนอนโยบายในการเพิ่มศักยภาพการผลิต SAF ให้เพียงพอกับความต้องการของสายการบินต่าง ๆ

  • เพิ่มวัตถุดิบตั้งต้นให้หลากหลาย เชื้อเพลิง SAF ที่จะถูกผลิตในอีก 5 ปีข้างหน้าคาดว่ามาจากกรดไขมันไฮโดรเจน (Hydrogenated Fatty Acids: HEFA) แทบทั้งหมด หากใช้วัตถุดิบตั้งต้นอื่น ๆ อย่างกากขยะจากการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมป่าไม้ ขยะชุมชน เป็นต้น จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและยกระดับผลิตเชื้อเพลิง SAF
  • กระบวนการเผาร่วมยกระดับ SAF เพราะโรงกลั่นน้ำมันใช้กระบวนการเผาร่วม (Co-Processing) จากวัตถุดิบตั้งต้นหมุนเวียนและน้ำมันดิบมากถึง 5% ช่วยยกระดับเชื้อเพลิง SAF
  • สร้างแรงจูงใจจัดสรรในอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงหมุนเวียน รัฐบาลมีนโยบายสร้างแรงจูงใจในการจัดสรรการผลิตเชื้อเพลิง SAF ให้เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศในระยะยาว
  • สร้างแรงจูงใจกระตุ้นการลงทุนในการผลิตเชื้อเพลิงหมุนเวียน การผลิตเชื้อเพลิง SAF ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น นโยบาย US Grand Challenge ที่เงินสนับสนุนมากกว่า 3,000 ล้านเหรียญ แต่นโยบายลดหย่อนภาษีระยะยาวยังช่วยยกระดับการผลิตเชื้อเพลิง SAF ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม SAF มีต้นทุนการผลิตแพงกว่าเชื้อเพลิงปกติ 3 - 5 เท่า เนื่องจากกำลังการผลิตน้อย ส่งผลให้ต้นทุนการเดินทางมีราคาสูงขึ้น ในอนาคตหากขยายกำลังการผลิตได้เพิ่มขึ้น ราคาของ SAF จะลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งมือพัฒนาศักยภาพการผลิต SAF เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน


อ้างอิง :

  • https://airfreight-logistics.com/th/iata-projects-saf-production-to-triple-in-2024/
  • https://techsauce.co/sustainable-focus/sustainable-aviation-fuel-in-sea-thailand
  • www.bbgigroup.com/th/newsroom/press-releases/230/bbgi-คาด-saf-เดินเครื่องผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน-q4-67-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-8-หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี#:~:text=โดย%20BSGF%20เป็นหน่วยแรก,รับซื้อในโครงการ%20“ทอด
  • www.customs.go.th/data_files/22b925aeedaf255caa4d74caed539d6f.pdf
  • www.forbes.com/sites/rachelingram/2023/02/16/why-sustainable-aviation-fuel-could-be-the-better-alternative-to-carbon-offsetting/?sh=16e5ef10138f
  • www.greenairnews.com/?p=4210#:~:text=Its%20analysts%20have%20calculated%20a,from%20%241.1%20billion%20last%20year
  • www.longtunman.com/46034
  • www.nstda.or.th/nac/2024/seminar/nac-16/#:~:text=Sustainable%20Aviation%20Fuel%20(SAF)%20หรือ,เข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลาง
URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ