Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

Biometric Technology เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยลดเวล...

02 กันยายน 2024 101 อ่านข่าวนี้ 2 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การท่องเที่ยว  
หมวดหมู่ : #05.5การท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค 


ตอนนี้หลาย ๆ สนามบินทั่วโลก เริ่มแนะนำให้ผู้โดยสาร Self Checked-in แทนการต่อแถวที่เคาน์เตอร์ นักท่องเที่ยวถือเพียงพาสปอร์ต 1 เล่มก็สามารถเช็กอิน ได้รับตั๋วเครื่องบิน พร้อมออกเดินทางได้ทันที เพราะเครื่องนี้ใช้ ‘Biometrics Technology’ หรือเทคโนโลยีชีวภาพที่จะช่วยวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเพื่อยืนยันตัวตน โดยสามารถเก็บข้อมูลได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เสียง ลายนิ้วมือ โครงหน้า หรือแม้แต่ลายเซ็น 


โดยกลไกการทำงานของ Biometrics Technology จะเริ่มตั้งแต่ลงทะเบียน ระบุตัวตน และยืนยันตัวตน ในฐานะผู้ใช้งาน เราจะต้องลงทะเบียนข้อมูล แล้วข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ที่ฐานข้อมูล แล้วจะทำการตรวจจับข้อมูลที่ถูกต้องโดยอาศัยลักษณะทางชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น ลายนิ้วมือ เพื่อระบุตัวตน หากข้อมูลตรงกับฐานข้อมูลในระบบก็จะยืนยันตัวตนได้สำเร็จ ถ้ามองเพียงผิวเผินจะเห็นว่า Biometrics Technology อาจมีความใกล้เคียงกับ Recognition Technology แต่นิยามความหมายและการทำงานเทคโนโลยีชีวภาพนั้นกว้างและครอบคลุมมากกว่า Recognition Technology




แต่เมื่อดูในรายละเอียด ดูเหมือนว่า Biometrics Technology จะเป็นการระบุตัวตนผ่านลักษณะทางกายภาพ เช่น ท่าทาง ลายเซ็น ม่านตา ลายนิ้วมือ ลายเซ็น แต่ Recognition Technology จะให้ความสำคัญกับการยืนยันตัวตนผ่านใบหน้าเท่านั้น นอกจากเพิ่มสะดวกสบายของนักท่องเที่ยวในการเดินทาง งานวิจัยเรื่อง Implementing Biometric Technology at Airports ที่ตีพิมพ์ในวารสารของบริษัท National Safe Skies Alliance ยังระบุประโยชน์ของการนำ Biometrics Technology มาใช้งานที่สนามบินไว้อีก 5 ประการ ประกอบด้วย
  1. มีความปลอดภัยสูง Biometrics Technology จะช่วยตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้โดยสารได้แม่นยำ ลดความเสี่ยงในการปลอมแปลงเอกสาร หรือเข้าพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูง โดยไม่ได้รับอนุญาต
  2. ลดเวลาการยืนยันตัวตน เทคโนโลยีจะช่วยตรวจสอบเอกสารและยืนยันตัวตน จึงสามารถลดเวลาในการผ่านจุดตรวจต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  3. ลดภาระงานของพนักงาน ช่วยลดจำนวนพนักงานในจุดตรวจสอบและการยืนยันตัวตน เช่น จุดตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. จัดการข้อมูลที่ดีขึ้น ข้อมูลของผู้โดยสารจะถูกเก็บไว้ที่ฐานข้อมูล ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล จัดการความปลอดภัย และป้องกันข้อมูลสูญหายได้
  5. มอบประสบการณ์การเดินทางที่ดี การใช้เทคโนโลยีชีวภาพช่วยให้ผู้โดยสารสามารถผ่านกระบวนการคัดกรองคนเข้าเมืองได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ทั้งยังช่วยทำให้ประสบการณ์การเดินทางภาพรวมดีขึ้น

สำหรับประเทศไทย มีการนำ Biometrics Technology มาใช้แล้วที่ ‘สนามบินสุวรรณภูมิ’ ด้วยระบบที่ชื่อว่า เช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service: CUSS) ปี 2023 สายการบินไทยนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อยืนยันตัวตน ตั้งแต่เช็กอินถึงขึ้นเครื่อง เพื่อเพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง และดูเหมือนจะได้รับการตอบรับดีจากสายการบิน และผู้โดยสาร จนปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมให้บริการรวม 22 สายการบิน ทั้งสายการบินไทยและต่างประเทศ ขณะเดียวกันในหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้งานที่สนามบิน ไม่ว่าจะเป็นสนามบินชางงีในสิงคโปร์  สนามบินดูไบ สนามบินฮาร์ตส์ฟิลด์-แจ็คสันในแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา สนามบินซิดนีย์ในออสเตรเลีย และสนามบินฮาเนดะในญี่ปุ่น ทั้งนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า Biometrics Technology จะถูกใช้ในกระบวนการเช็กอินจะเพิ่มขึ้นอีก 78% ภายในปี 2030 ซึ่งกระจายตัวมากกว่า 51,000 จุดทั่วโลก เพราะสนามบินเป็นเหมือนประตูบานแรกในการเข้าเมือง การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ลดขั้นตอน รวดเร็ว และสะดวกสบายก็สามารถช่วยเพิ่มความประทับใจการเดินทาง ลดเวลาที่สนามบิน แต่เพิ่มเวลาท่องเที่ยวได้


แหล่งอ้างอิง :

URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ