เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย หายนะที่มีมากกว่าแค่น้ำท่วมโลก
เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
หายนะที่มีมากกว่าแค่น้ำท่วมโลก
เรารู้ว่าโลกร้อนขึ้น แต่เรารู้ไหมว่า ที่ว่าร้อนนั้น น้ำแข็งขั้วโลก ละลายไปมากแค่ไหนแล้ว เราลองมาดูกันจากข้อมูลของ IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการละลายของน้ำแข็งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา โดยใช้ดาวเทียม มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง
ข้อมูลจากดาวเทียมช่วง 26 ปีที่ผ่านมา จากดาวเทียม 11 ดวงที่ปฏิบัติการช่วงปี 1992-2018 ดาวเทียมเหล่านี้วัดค่าความหนาของน้ำแข็ง สามารถบอกเราได้ว่าการละลายของน้ำแข็งมากและเร็วแค่ไหน พบว่าปัจจุบันน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วมากขึ้นกว่าปี 1990 ถึง 7 เท่า น้ำแข็งละลายไปแล้วประมาณ 250,000 ล้านตัน ซึ่งถือว่ามากและเร็วที่สุด เมื่อเทียบกับก่อนทศวรรษ 1990 ซึ่งกรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งแค่ 33,000 ล้านตัน ปี 2022 นี้นักวิทยาศาสตร์คาดปริมาณการละลายของน้ำแข็งสะสมรวมกันแล้วอาจมากกว่า 370,000 ล้านตัน มากขนาดนี้จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นมากแค่ไหน
ตอบได้ว่าอัตราของการเพิ่มอาจสูงถึง 7 มิลลิเมตรต่อปีตลอดช่วงศตวรรษนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้คาดกันว่าอาจสูงเพียง 1-3 มิลลิเมตรเท่านั้น และสิ้นศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันว่าน้ำทะเลอาจสูงขึ้นมากกว่า 60 เซนติเมตรหรืออาจขึ้นไปถึง 67 เซนติเมตรก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อาจส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และหลายประเทศอาจมาเร็วกว่าที่เราคิด เมืองที่อยู่ใกล้ชายฝั่งหลายแห่งจะได้รับผลกระทบ เกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้นและชายฝั่งอาจหายไป ขั้วโลกใต้ทวีปแอนตาร์ติกาในช่วงหมดศตวรรษนี้จะต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ 10 เซนติเมตร และกรีนแลนด์ความหนาของน้ำแข็งก็จะลดลง ทั้งหมดนี้ก็จะว่งไปถึงทุกๆ อย่างที่จะตามมา ทั้งเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนและอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิอาจสูงขึ้นอีก 0.75 องศาสเซลเซียสจากอุณหภูมิปัจจุบนที่คาดว่าน่าจะสูงอย่างน้อย 2-3 องซาเซลเซียส ซึ่งจริงๆ แล้วนักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกว่า นี่เป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะจากข้อมูลของนักวิจัยชาวนอร์เวย์ ที่เก็บข้อมูลบริเวณขั้วโลกเหนือ พบว่าอุณหภูมิ ณ เวลานี้เฉลี่ยสูงขึ้นอยู่ที่ 5-6 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน หากเทียบกับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) ครั้งล่าสุดเพื่อร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน หรือตามที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ได้วางกรอบไว้ว่า อุณหภูมิทั่วโลกไม่ควรสูงเกิน 5 องศาเซลเซียสในปี 2100 แต่ในโลกของความเป็นจริง สถานการณ์นั้นได้มาถึงแล้ว
แล้วน้ำแข็งขั้วโลกมีมากแค่ไหนที่จะให้มันละลายล่ะ
เป็นคำถามที่น่าสนใจ
เรามารู้จักความใหญ่ของพื้นที่น้ำแข็งกันนิดหนึ่งดีกว่า ปัจจุบันนี้ธาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดมีสองแห่งก็คือขั้วโลกเหนือ ทวีปกรีนแลนด์มีพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร และทางขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกา มีพื้นที่ที่ใหญ่กว่าโดยมีเนื้อที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันว่าแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้ในใหญ่และลึกมาก อาจหนาได้ถึง 3,000 เมตรลงไปใต้พื้นมหาสมุทร ผิดกับขั้วโลกเหนือที่อาจไม่ได้หนาขนาดนั้น เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องไปที่ขั้วโลกใต้ได้น้อยกว่าขั้วโลกเหนือ
แนวโน้มของการละลายของน้ำแข็งนั้น คาดว่าหากเกิดการละลายขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะเริ่มละลายก่อน ซึ่งอาจมีปรากฎการณ์ การละลายแบบที่ว่า น้ำแข็งกลับมามีมากในฤดูหนาวแต่ในฤดูร้อนน้ำแข็งจะละลายหมด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษนี้ หากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายทั้งหมดจะทำให้น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 5 เมตร ส่วนขั้วโลกใต้จะเกิดการละลายได้ยากกว่า อาจใช้เวลานานกว่า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอนในช่วงศตวรรษนี้ ที่เราจะเห็นน้ำแข็งของทั้งสองขั้วโลกละลายจนหมดและหากน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 50-60 เมตร
สิ่งที่ตามมาจากการละลายของน้ำแข็งที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นไม่ใช่เพียงแค่ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง หรือว่าโลกที่มีอากาศร้อนขึ้น แต่ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่เรายังไม่ได้พูดถึงอีกมาก โดยเฉพาะระบบนิเวศน์ที่จะเริ่มเปลี่ยน
นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อขั้วโลกเริ่มอุ่นขึ้นในฤดูร้อน
- ปลาในพื้นที่มีพยาธิเพิ่มสูงขึ้นกว่า 10 ตัวเกาะติดบนตัวปลา เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งปกติขั้วโลกใต้เชื้อโรคจะน้อยหรือแทบไม่มีเลย
- พฤติกรรมการกินของปลาเริ่มเปลี่ยน แทนที่จะกินกุ้งหรือเคย เปลี่ยนไปกินหมึกหรือสัตว์อื่นแทน
- น้ำแข็งละลายส่งผลโดยตรงต่ออัตราการรอดชีวิตของเพนกวิน อัตราการรอดน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 50 เพราะเมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นพ่อเพนกวิน ต้องใช้เวลาออกไปหาอาหารนานมากขึ้น แม่เพนกวิน ก็ต้องออกไปหาอาหาร ทำให้ต้องทิ้งลูกเพนกวินอยู่ตามลำพัง เมื่อกลับมาไม่ทัน ลูกเพนกวินก็ตาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับแมวน้ำเช่นกัน
- หมีขาว มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงโดยตัวผอมลง ไม่จำศีลและปรับตัวเองเริ่มกินพืช กินไข่นก หรือหาปลาแทนแมวน้ำ เพราะการจะไปล่าแมวน้ำ ต้องใช้ในการเกาะน้ำแข็งหรือว่ายน้ำไปยังแผ่นน้ำแข็งที่แมวน้ำอาศัย เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นหมีขาวว่ายน้ำไกลขึ้นไม่มีแผ่นน้ำแข็งให้เกาะหรือให้แมวน้ำอาศัยการล่าแมวน้ำจึงทำได้ยาก หมีขาวจึงเลือกหากินบริเวณหน้าผา หรือแม่น้ำ รวมทั้งยังเจอหมีออกหาอาหารในหมู่บ้าน ทั้งการคุ้ยขยะ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในขั้วโลกเหนือ
- ประชาชนในหมู่บ้านทางตอนเหนือของนอร์เวย์ สร้างแผงกั้นเพื่อป้องกันการละลายของน้ำแข็ง และหิมะที่อาจทำให้เกิดหิมะถล่มใส่หมู่บ้าน ประเทศที่อยู่ใกล้กับบริเวณขั้วโลกใต้ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ชิลี อาร์เจนติน่ามีการการเฝ้าระวังก้อนน้ำแข็งที่แตกและลอยว่ามีโอกาสที่จะลอยมาชนกับเกาะซึ่งอาจทำให้เกิดคลื่นทสึนามิได้
นี่เรายังไม่นับเรื่องของก๊าซมีเทนดึกดำบรรพ์ที่จะถูกปล่อยออกมาตามการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะอากาศแปรปรวนมากขึ้นอีก เพราะก๊าซมีเทนก็เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการรืเรือนกระจก ที่ทำให้โลกระอุขึ้นเนื่องจากความสามารถในการไหลเวียนของความร้อนในชั้นบรรยากาศนั้นลดลง ผลจากการละลายของน้ำแข็งนั้นส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างที่เราอาจคาดไม่ถึงเลยก็เป็นได้

