Ban the bead จากยาสีฟันถึงซูชิ ผลกระทบของเม็ดพลาสติกขนาดเล็กที่มีต่อโลก

13 ธันวาคม 2023
|
512 อ่านข่าวนี้
|
9


มหาวิทยาลัยรอตเธอดาม ของออสเตรเลีย เพิ่งออกมาเปิดเผยรายงานเรื่องขยะในมหาสมุทร เมื่อต้นปี 2022 พบว่าปริมาณขยะในมหาสมุทรแบซิฟิกนั้นมีแนวโน้มลดลง เมื่อดูจากปริมาณที่ขยะพลาสติกพัดเข้าฝั่งตลอดสี่ปีที่เก็บข้อมูล แต่อย่างไรก็ท่ามกลางขยะที่พวกเขาเก็บมาได้กว่าหมื่นชิ้นตลอดระยะเวลาการทำวิจัย พบว่า 90% ของขยะนั้นคือ พลาสติก

องค์กรไม่แสวงผลกำไร The Ocean Clean Up คาดว่าปัจจุบันมีขยะพลาสติกอยู่ในมหาสมุทรแบซิฟิก ราว 1.1-3.6 ล้านล้านตัน หากเอาขยะทั้งหมดมารวมกัน ขนาดของมันจะมีขนาดประมาณประเทศฝรั่งเศส

นั่นคือขยะที่เรามองเห็น ทว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือยังมีขยะพลาสติกขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็น หรือไมโครพลาสติกซึ่งมีอันตรายมากกว่าขยะพลาสติกที่เราเห็นมากมายนัก

มีการประกาศกฎหมายห้ามใช้เม็ดพลาสติกขนาดเล็กหรือที่เราเรียกว่า microbeads ในปี  2017 ในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายเนื่องจากมีการวิจัยว่า เม็ดพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมากและหากไม่หยุดใช้ อาจสร้างผลกระทบที่มากเกินการควบคุม แต่กระนั้นเมล็ดพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้ก็เข้าสู่ระบบนิเวศน์แล้วเรียบร้อย 

ไมโครบีดส์คืออะไร

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ไมโครบีดส์ จริงๆ ก็เป็นเม็ดพลาสติกขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรไปจนถึงขนาด 0.03 มิลลิเมตร (บางครั้งก็เรียกว่า micropheres หรือฝุ่นผงพลาสติก) เม็ดเหล่านี้ผลิตจากพลาสติดหลากหลายชนิด เช่น polyethylene (PE), polypropylene (PP) polyethylene terephthalate (PET) polymethlyl methacrylate (PMMA) หรือบางครั้งก็ใช้พลาสติกไนลอน แต่ทั้งหมดที่ว่ามาคือพลาสติก

เจ้าเม็ดพลาสติกขนาดเล็กมากเหล่านี้ ถูกผสมลงไปทั้งในเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก แป้งฝุ่น แป้งสำหรับแต่งหน้า (ใช่แล้ว พวกเรากำลังใช้ฝุ่นพลาสติกพวกนี้อุดรอยตีนกา) ครีมกันแดด รวมถึงผสมลงในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น ครีมล้างหน้า ครีมขัดหน้า ครีมอาบน้ำ หรือแม้แต่ในยาสีฟันก็มีการผสมลงไปเช่นกัน คุณสมบัติที่เราจะได้จากเม็ดพลาสติกขนาดเล็กพวกนี้ก็คือ  ช่วยขัดเซลล์ผิวที่ตาย เป็นวัสดุยึดเกาะที่ทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น และสร้างความรู้สึกสะอาดหลังการใช้งาน เม็ดพลาสติกเหล่านี้มีขนาดเล็กมากจึงไม่สร้างความระคายเคืองเหมือนกับวัสดุขัดที่มาจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดข้าวหรือเมล็ดอัลมอนด์บด เป้าหมายแรกเริ่มเดิมทีของการผลิตเม็ดพลาสติกขนาดเล็กมากเหล่านี้ คือเพื่อใช้ในห้องแล็บ

ในปีค.ศ.1976 ดร.จอห์น อุจสเตด (John Ugelstadแห่งมหาวิทยาลัยทรอนฮีมในนอร์เวย์ ใช้ทดสอบการเคลื่อนตัวของสนามแม่เหล็ก แต่ต่อมามีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้อุปโภคต่างๆ เพราะราคาถูกกว่าวัสดุที่มาจากธรรมชาติ  หาได้ง่ายและผลิตได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับวัสดุที่มาจากธรรมชาติอย่างเปลือกข้าว เมล็ดอัลมอนด์หรือกากมะพร้าว ที่สำคัญมันละเอียดกว่า ซึ่งลดการระคายเคืองได้ดีกว่า ทว่าไม่มีใครคิดถึงความน่ากลัวของเม็ดพลาสติกขนาดเล็กพวกนี้ ผลกระทบเริ่มปรากฎให้เห็นราวปี 2009 เมื่อมีการพูดถึงเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่สามารถที่คัดกรองอณูขนาดเล็กได้ ทำให้มันปนเปื้อนลงไปสิ่งแวดล้อม   และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นพลาสติกแล้ว อัตราการย่อยสลายจึงยากมาก เมล็ดพลาสติกเหล่านี้สามารถอยู่ในธรรมชาติได้นานถึง 50 ปี และความเล็กของมัน ทำให้สัตว์จำพวกปลาและนกกินมันเข้าไปและตกค้างอยู่ในตัวของสัตว์ 


ในปี 2012 มีรายงานการศึกษาของ D.Barnes, F.Galgani, R.Thompson, M.Barlaz ในหัวข้อ ‘Accumulation and fragmentation of plastic debris in global environments’  เก็บข้อมูลเรื่องผลกระทบของไมโครบีดส์ที่เกิดขึ้นกับ Great Lake หรือทะเลสาบทั้ง 5 แห่งในอเมริกาเหนือและในมหาสมุทรแอตแลนติก พบการปนเปื้อนของไมโครบีดส์ในธรรมชาติกินพื้นที่กว่า 450,000 ตารางกิโลเมตร และพบว่าจำนวนของไมโครบีดส์ที่ใช้ในอเมริกามีมากถึง 800 ล้านล้านเม็ดต่อวัน ซึ่งหากเอามาเรียงต่อกันจะได้พื้นที่ขนาดสนามเทนนิส 3 สนาม เม็ดไมโครบีดส์พวกนี้ปนเปื้อนในธรรมชาติ ตกค้างในเนื้อปลาและเมื่อชาวประมงจับมาเพื่อขาย และเม็ดพลาสติกเหล่านี้ที่อยู่ในเนื้อปลา ก็กลับมากลายเป็นสารพิษที่ตกค้างในร่างกายของมนุษย์

ปัจจุบันแม้จะผ่านมาหลายปี ในประเทศที่พัฒนาแล้วอาจมีการระงับการใช้เม็ดพลาสติกแต่ในประเทศที่ด้อยพัฒนา เช่นในแอฟริกา หรือเอเชียกลายเป็นประเทศที่เอาไว้ ระบายสินค้า’ ในประเทศโลกที่ 1 

ปัจจุบันมีหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหว อย่างเนเธอร์แลนด์ กลุ่ม Plastic Soup Foundation (www.plasticsoupfoundation.org/)  ทำแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเช็ค ตรวจสอบและแบนสินค้าที่ส่วนผสมของไมโครบีดส์ จนเป็นกระแสอย่างกว้างขาวงในประเทศแถบสแกนดิเนเวียและในยุโรป

 อย่างไรก็ดี แบรนด์ระดับพรีเมี่ยมที่มีภาพลักษณ์เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มออกมาแสดงจุดยืน  เช่น

Burt’s Bees หรือ St.Ive ประกาศเลิกใช้ไมโครบีดส์ หันมาใช้วัสดุธรรมชาติอย่างเมล็ดแอพริคอต และกาดมะพร้าว บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีสายป่านของธุรกิจยาวกว่านั้น ที่ต้องตุนเมล็ดพลาสติกล่วงหน้า ก็มีการเคลื่อนไหว เช่น ลอรีอัลจากปารีส ประกาศว่ามีแผนที่จะนำเอาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์ออกจากชั้นวางสินค้าให้หมด ทั้งครีมล้างหน้า ครีมอาบน้ำ คลีนเซอร์ต่างๆ ภายในปี 2017 เช่นเดียวกันกับ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลายต่อหลายตัวที่ใช้ไมโครบีดส์ก็ประกาศเช่นเดียวกันว่าจะยกเลิกการใช้ไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์ของตนในปี 2017  หลายรัฐของอเมริกาก็เริ่มมีการประกาศใช้กฎหมายบังคับไม่ให้วางจำหน่ายสินค้าอุปโภคที่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์แล้วซึ่งก็คาดว่าภายในปี 2020 ที่ผ่านมา สินค้าที่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์น่าจะหมดไปจากท้องตลาดอย่างถาวร แต่ไม่ได้หมายถึงว่ามันจะหมดไปจากสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน เว็บไซต์ sciencedaily.com อ้างอิงรายการงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิวชู ในปี 2018 พบว่า มีเม็ดพลาสติกขนาดเล็กปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 24.4 ล้านตัน เม็ดเหล่านี้เป็นสารแขวนลอยอยู่ในทะเลและมหาสมุทรซึ่งสัตว์น้ำกินเข้าไป เพราะคิดว่าเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสัตว์น้ำที่กินเข้าไปมีตั้งแต่ทำให้สัตว์น้ำเป็นหมัน ไปจนกระทั่งถึงเสียชีวิตเพราะเมล็ดเหล่านี้เข้าไปอุดตันทางเดินอาหาร  แม้กระทั่งสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกอย่าง ปลาหมึกแวมไพร์ (Vampire Snake) ก็ยังมีปริมาณเม็ดพลาสติกจำนวนมากอยู่ในท้อง เพราะพวกมันคิดว่านี่เป็นแพลงตอนหรือเคยตัวเล็กๆ    

 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์ไหนมีไมโครบีดส์ผสมอยู่บ้าง เราขอเน้นให้ทุกคนดูที่ฉลาก หากมีส่วนผสมที่ระบว่าเป็นเม็ดพลาสติกอย่างที่เราบอก หรือมีส่วนผสมของไนล่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไมโครบีดส์ เรายังสามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ได้ โดยคีย์ beatmicrobead ได้ทั้ง ได้ทางแอพสโตร์ เพลย์สโตร์และไมโครซอฟท์โฟนสโตร์ หรือจะเข้าไปดูทางเว็บไซต์ beatmicrobead.org

 เรายังสามารถช่วยเพิ่มเติมรายชื่อของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมโครบีดสืได้ทางแอปพลิเคชันนี้ได้อีกด้วย เพราะเชื่อว่ายังมีผลิตภัณฑ์จากฝั่งเอเชียอีกมากที่อาจไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ เรียกว่าเป็นการช่วยโลกกันคนละไม้ละมือ 

 อ้างอิง

www.sciencedaily.com/releases/2021/10/211027122120.htm#:~:text=The%20team%20estimates%20there%20are,500%2Dml%20plastic%20water%20bottles.

www.nytimes.com/2022/04/03/science/ocean-plastic-animals.html

 

 

0 ความคิดเห็น

Ask OKMD AI