เส้นทางดนตรีแห่งอนาคต
เครื่องดนตรีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเลียนเสียงธรรมชาติ เกิดขึ้นมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยบรรพกาล เพื่อสร้างความบันเทิงหรือบูชาเทพเจ้า การเล่นดนตรีทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียะ แต่ในปัจจุบันใครจะไปรู้กันว่าปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ก็สามารถเล่นดนตรีร่วมกับมนุษย์ได้แล้วเช่นกัน
ดร.ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ หรือ อาจารย์หลุย อายุ 32 ปี จบการศึกษาการศึกษาปริญญาตรีสาขาการประพันธ์เพลงและการอำนวยเพลง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท สาขาการประพันธ์เพลง Royal College of Music ลอนดอน อังกฤษ และปริญญาเอก สาขาการประพันธ์เพลง Cornell University นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนักประพันธ์เพลงและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการประพันธ์เพลงที่ Bowling Green State University โอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
ในปี 2014 ดร.ปิยวัฒน์ และกลุ่มเพื่อนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อตั้งวง TACETi Ensemble ซึ่งเป็นวงดนตรี Professional Contemporary Artist วงแรกและวงเดียวในประเทศไทย ที่มีความแตกต่างจากดนตรีทั่วไป คือเครื่องดนตรีอาจมีการดัดแปลง สร้างขึ้นเอง หรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ เข้ามาประกอบร่วมในการแสดง ดังนั้นเสียงดนตรีที่ได้จะมีความแปลกใหม่
ดร.ปิยวัฒน์ ใช้เทคโนโลยี AI ในกระบวนการประพันธ์ดนตรีและการแสดง ด้วยการสร้างเสียงจาก AI รวมไปถึงการถามคำถามที่เกี่ยวกับดนตรี เช่น หากต้องการแสดงดนตรี จะแสดงในรูปแบบไหน ต้องคิดอย่างไรบ้าง จากนั้นนำสิ่งที่ AI คิด ไปประกอบการแสดง กลายเป็นการเล่นดนตรีร่วมกับ AI
การใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการดนตรีของดร.ปิยวัฒน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. Performance Quality คือการฝึกฝนทางกายภาพ AI จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ช่วยฝึกฝนให้ผู้ใช้งานเก่งขึ้นจากการทำตามสิ่งที่ AI สอน ความได้เปรียบนี้จะทำให้เพดานของวงการดนตรีสูงขึ้น
2. Production Quality คือการสร้างดนตรีในรูปแบบใหม่ เช่น การนำ AI ไปใช้ประกอบการแสดงดนตรี สิ่งเหล่านี้จะเป็นการขยายกำแพงทางดนตรีให้มีความหลากหลายมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จาก AI ต้องใช้อย่างมีวิจารณญาณและระมัดระวัง วิธีการที่ดีที่สุดคือการนำ AI มา Boost Performance Quality ของตัวเอง และเรียนรู้กระบวนการคิดจาก AI
ติดตามคลิป “เส้นทางดนตรีแห่งอนาคต” ได้ที่

