จากแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ สู่ความรู้ “ห่วงโซ่คุณค่า” ชวนอ่าน ช่วยขับเคลื่อนอนาคตไทย

04 เมษายน 2025
|
3312 อ่านข่าวนี้
|
16


คนส่วนใหญ่มองว่า “แผนแม่บท” และ “ยุทธศาสตร์ชาติ” ที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งยังเป็นเรื่องไกลตัวหรืออาจไม่อยู่ในความสนใจของคนหลายช่วงวัย แต่แท้จริงแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนควรได้รับรู้ไปจนถึงศึกษายุทธศาสตร์ชาติไทย ที่จะช่วยให้คนในประเทศเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน 

สอดคล้องกับที่เอกสารออนไลน์ “สรุปสาระสำคัญแผนสรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580” ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานเลขาวุฒิสภาได้อธิบายไว้ว่า “แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ ของยุทธศาสตร์ชาติลงสู่แผนระดับต่างๆ ต่อไป ซึ่งได้คำนึงถึงประเด็นร่วมหรือประเด็นตัดข้ามยุทธศาสตร์ และการประสานเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติให้มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติจะประกอบด้วย สถานการณ์และแนวโน้มที่เกี่ยวข้องของแผนแม่บท เป้าหมาย และตัวชี้วัดในการดำเนินการซึ่งแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 5 ปี”

“23 แผนแม่บท” ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580

สำหรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580 มีทั้งสิ้น 23 แผนด้วยกัน ประกอบด้วย 1. ความมั่นคง  2. การต่างประเทศ 3. การเกษตร 4. อุตสาหกรรรมและบริการแห่งอนาคต 5. การท่องเที่ยว 6. พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7. โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล 8. ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่ 9. เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม 11. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 12. การพัฒนาการเรียนรู้ 13. การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 14. ศักยภาพการกีฬา 15. พลังทางสังคม 16  เศรษฐกิจฐานราก 17. ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม 18. การเติบโตอย่างยั่งยืน 19. การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 20. การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ 21. การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 22. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ 23. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ตั้งเป้าหมายให้เกิดขึ้นได้จริงตามกำหนดระยะเวลา

แผนแม่บทสำคัญอย่างไร คนไทยต้องรู้ไว้ ได้ประโยชน์มาก

จาก 23 แผนแม่บทดังกล่าว สามารถระบุได้ว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนทุกกลุ่มวัยที่รู้ไว้ได้ประโยชน์มาก

  • “วัยครรภ์มารดาถึงปฐมวัย”
    จะได้รับการดูแลถูกต้องตามหลักวิชาการ โภชนาการ และสมวัย ผ่านระบบบริการสาธารณะที่ครอบคลุมทั่วไทย ด้วยบริการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีคุณภาพ
  • “วัยประถมถึงมัธยมต้น”
    มุ่งพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นต่อผู้เรียนในช่วงการศึกษาภาคบังคับ มีดิจิทัลแพลตฟอร์มช่วยขยายความรู้ไปสู่ทั้งนักเรียนและครูครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
  • “วัยทำงาน”
    จะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตต่อเนื่อง มีทักษะสูง มีองค์ความรู้สอดคล้องความต้องการของตลาดงาน เพิ่มช่องทางการหารายได้ มีภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ 
  • “วัยสูงอายุ”
    จะได้รับการดูแลทางกายและใจ ไปจนถึงสามารถเป็นพลังช่วยพัฒนาประเทศได้ ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย ทั้งผู้สูงอายุวัยต้นอายุ ผู้สูงอายุวัยกลางอายุ และผู้สูงอายุวัยปลาย ตามลำดับ 

การเปิดรับ เรียนรู้และทำความเข้าใจ นอกเหนือจะได้เห็นทิศทางของโอกาสที่จะได้รับ ยังสามารถใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในทุกช่วงวัย

“แผนแม่บท” มี “ห่วงโซ่คุณค่า” (Value Chain) เป็นเครื่องมือสนับสนุน 

หากตั้งคำถามว่า “แผนแม่บท” (Master Plan)  และ “ห่วงโซ่คุณค่า” (Value Chain)  สัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร กล่าวได้ว่า “แผนแม่บท” ทำหน้าที่แผนที่กำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

ขณะที่ “ห่วงโซ่คุณค่า” ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โดยใช้เพื่อวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ซึ่งหนึ่งในคำอธิบายขยายที่น่าสนใจจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวว่า “ห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การดำเนินการขาเข้า, การปฏิบัติการ, โลจิสติกส์ขาออก, การตลาด และการขายและการบริการ และ 4 กิจกรรมรอง มีการจัดซื้อจัดจ้าง, การจัดการทรัพยากรบุคคล, การพัฒนาเทคโนโลยี และโครงสร้างของกิจการ” เพื่อให้เกิดความสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง

สำหรับองค์กรที่มีบทบาทส่งเสริมและสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง OKMD หรือ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของแผนแม่บทที่มีห่วงโซ่คุณค่าเป็นเครื่องมือ จึงได้หยิบและนำแผนแม่บทบางส่วนมานำเสนอ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของ OKMD  โดยส่งต่อความรู้ในรูปแบบของบทความ อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอที่เชื่อมโยงกันระหว่างแผนแม่บทและห่วงโซ่คุณค่า ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อผลลัพธ์เดียวกันคือความสำเร็จ บน OKMD  Knowledge Portal แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ทุกช่วงวัย

จากแผนระดับชาติสู่เนื้อหามากประโยชน์ เตรียมพร้อมสู่การแข่งขันยุคใหม่

ดังที่ได้กล่าวว่า OKMD ได้หยิบยกแผนแม่บทมานำเสนอและชวนอ่านเนื้อหาความรู้ในรูปแบบของบทความ อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโออย่างหลากหลายด้วยกัน โดยที่นำเสนอแผนแม่บท 14 ประเด็น ที่แต่ละประเด็นยังประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย เริ่มด้วย

  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นเกษตร :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 2. เกษตรปลอดภัย 3. เกษตรชีวภาพ 4. เกษตรแปรรูป 5. เกษตรอัจฉริยะ 6. การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร ที่มีบทความน่าสนใจ เช่น ““คลังเมล็ดพันธุ์วันสิ้นโลก”ภารกิจรักษาความมั่นคงทางอาหารในอนาคตของประเทศนอร์เวย์”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต :
    มีแผนแม่บทย่อย ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมชีวภาพ 2.อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ 3. เทคโนโลยีดิจิทัลข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ 4. อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคม 5. อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ 6. การพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต ที่มีบทความน่าสนใจ เช่น “โอกาสและความท้าทายของไทย ในการเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแห่งภูมิภาคอาเซียน”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการท่องเที่ยว :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม 2. การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ 3. ความงามและแพทย์แผนไทย 4. การท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ 5. การท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค 6. การพัฒนาระบบนิเวศการท่องเที่ยว มีบทความน่าสนใจ เช่น  “ROBOTICS หุ่นยนต์อนาคตใหม่ในธุรกิจท่องเที่ยว”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ  2. การพัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีการบริหารจัดการตามแผนผังภูมินิเวศอย่างยั่งยืน มีบทความน่าสนใจ เช่น  “NYC311 แอปพลิเคชันที่เชื่อมโยงประชาชนกับบริการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ 24 ชั่วโมง”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 2. โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน 3. โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลยั่งยืน โดยมีบทความน่าสนใจ เช่น ““แท็กซี่ลอยฟ้า” เมื่อท้องฟ้าคือถนนแห่งอนาคต” 
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่ :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ 2. การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการการเงิน 3. การสร้างโอกาสเข้าถึงตลาด 4. การสร้างระบบนิเวศเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่ โดยบทความน่าสนใจ เช่น “GREEN FINANCE การเงินสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืน”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2. การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ 3. การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ที่กล่าวได้ว่าล้วนคือบริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์การลงทุน การบริหารแรงงานต่างด้าวไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จและการบริการอื่นที่จำเป็น (ที่มา : PRD) 
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ 2. การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย 3. การพัฒนาช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น 4. การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน 5. การส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ โดยมีบทความน่าสนใจ เช่น “เนเธอร์แลนด์ ประตูแห่งโอกาสสำหรับคนทำงานสูงวัย” และ “บ้านหนังสือพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดด้วยเวลาและวัย”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2. การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและส่งต่อการพัฒนาให้เห็นศักยภาพเพิ่มขึ้นทั้งในวันนี้และก้าวต่อไปในอนาคต 
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะและการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะ 2. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี 3. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี 4. การเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีความเหลื่อมล้ำลดลง 5. การพัฒนาและสร้างระบบรับมือปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เน้นย้ำการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรม ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวกับอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนไป
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นเศรษฐกิจฐานราก :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 2. การสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเนื้อหาวิดีโอที่น่าสนใจ เช่น “Journey มัคคุเทศก์ท้องถิ่น” “Focus ธุรกิจแยมจาก ดอกไม้” และ “World ธุรกิจไข่เค็มเพื่อสุขภาพ” (อย่างละ 5 ตอน)
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ 2. มาตรฐานแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะกลุ่ม และเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือพิเศษได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึงกัน
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการเติบโตอย่างยั่งยืน
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว 2. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล 3. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 4. การจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 5. การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ โดยมีบทความน่าสนใจ เช่น “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) แนวทางที่นำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
  • ความรู้จากแผนแม่บทประเด็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม :
    ประกอบด้วยแผนแม่บทย่อย 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านสิ่งแวดล้อม 4. ด้านองค์ความรู้พื้นฐาน 5. ด้านปัจจัยสนับสนุนรายการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมีบทความน่าสนใจ เช่น “นวัตกรรมแบตเตอรี่แบบยืดหยุ่นได้จะอยู่ในสินค้าอนาคต” และ “การปฏิวัติการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสมองและอนาคตของการเชื่อมต่อมนุษย์”


รวมถึงอีกหลากหลายบทความที่ okmd อยากส่งต่อความรู้ ให้ทุกคนได้รับประโยชน์ จากการเรียนรู้ “ห่วงโซ่คุณค่า” ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ “แผนแม่บท” ที่ประชาชนทุกคนสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ ควบคู่การทำงานของภาครัฐเพื่อยกระดับอนาคตประเทศไทย ผ่านทาง  https://knowledgeportal.okmd.or.th/valuechain หรือ https://knowledgeportal.okmd.or.th/  จากนั้นเลือก Knowledge Maps จากนั้นเลือก Content Based

นั่นเป็นเพราะความรู้คือโอกาส และยิ่งได้รู้ยิ่งได้กระตุกต่อมคิด okmd จึงอยากให้ทุกคนได้อ่านความรู้ที่ผ่านการคัดสรรที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในโลกที่ไม่หยุดนิ่ง ทั้งยังเต็มไปด้วยการแข่งขันและความท้าทาย


#Valuechain #LifelongLearning #MasterPlan #NationalStrategies #ห่วงโซ่คุณค่า #การเรียนรู้ตลอดชีวิต #แผนแม่บท #ยุทธศาสตร์ชาติ  #KnowledgePortal #กระตุกต่อมคิด #OKMD 



ข้อมูลอ้างอิง : www.senate.go.th, www.prd.go.th และ knowledgeportal.okmd.or.th



บทความใกล้เคียง
ดูบทความทั้งหมด
ไซบอร์กแห่งปี 2025
27 มิถุนายน 2025
22 0
0 ความคิดเห็น

Ask OKMD AI