เครื่องหนังดีที่ ‘เจริญรัถ’ ย่านแห่งงานฝีมือและความสร้างสรรค์
ความหลากหลายของหนังและอุปกรณ์สำหรับการทำเครื่องหนัง
ดูหนังที่ไหนก็ไม่จุใจเท่าที่เจริญรัถ เพราะมาที่นี่ที่เดียว รับรองว่าได้เจอหนังครบทุกรูปแบบ หนังฟอกฝาด หนังวัว หนังม้า หนังแกะ หนังลูกแพะ หนังนูบัค หนังผิวหมูซับใน หนังจระเข้ หนังงู หนังปลากระเบน หนังแฟชั่น หนังเทียม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับการทำเครื่องหนัง อุปกรณ์สำหรับสร้างสรรค์งานประดิษฐ์แทบทุกชนิดให้เลือกสรร ส้นรองเท้าสำเร็จรูป หุ่นขึ้นรูปรองเท้า แผ่นพีวีซี ผ้าสำหรับทำกระเป๋าและรองเท้า หมุดโลหะ กระดุม โลหะสำหรับการตกแต่งรองเท้า ชิ้นส่วนสายกระเป๋า
การกระจายตัวของโรงงานผลิตไปยังพื้นที่รอบนอก
ผู้ประกอบการจะมีโรงงานผลิตอยู่ในพื้นที่โซนนอกเมือง อย่างย่านบางแค รวมถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรปราการ แล้วจึงนำสินค้ามาวางขายที่เจริญรัถเพื่อให้ลูกค้านำไปผลิตเป็นชิ้นงานต่อไป เรียกได้อย่างเต็มปากว่า นี่คือย่านของนักสร้างสรรค์ คนที่รักในการลงมือทำงานประดิษฐ์อย่างแท้จริง
เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
ในเชิงเศรษฐกิจชุมชน ย่านเจริญรัถถือเป็นศูนย์กลางการค้าหนังและอุปกรณ์เครื่องหนังที่สำคัญของประเทศไทย สร้างงานให้กับแรงงานจำนวนมากในภาคการผลิตและการค้าส่ง ผู้ประกอบการในย่านนี้มีทั้งโรงงานผลิตหนังดิบ โรงฟอกหนัง ร้านจำหน่ายหนัง รวมถึงร้านผลิตและซ่อมแซมเครื่องหนังที่รองรับลูกค้าทั้งรายย่อยและผู้ผลิตรายใหญ่ ธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยมีการนำเศษหนังที่เหลือจากการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ ลดของเสีย และเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ
จากเส้นทางรถไฟสู่แหล่งค้าขายเครื่องหนัง
ถนนเจริญรัถ เชื่อมระหว่างถนนเจริญนครที่ท่าน้ำคลองสาน กับถนนพระเจ้าตากสินที่วงเวียนใหญ่ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟเก่าสายท่าจีน เดินรถระหว่างสถานีคลองสาน ถึงสถานีมหาชัย หลังจากยกเลิกการใช้งานในปี พ.ศ. 2502 ตัดเส้นทางสิ้นสุดแค่สถานีวงเวียนใหญ่ ได้มีการปรับเปลี่ยนบริเวณพื้นที่ถนนเจริญรัถเป็นอาคารพาณิชย์ เติบโตควบคู่ไปกับย่านการค้าวงเวียนใหญ่ หนังสือ สมโภชน์ 100 ปีเขตคลองสาน
บทบาทของชาวจีนแคะในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
สำนักงานเขตคลองสาน
สันนิษฐานว่า ชาวจีนแคะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่มาทำธุรกิจเครื่องหนังในย่านนี้
สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของอาจารย์กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
(จิตรกรรมและสื่อผสม) ซึ่งเติบโตในย่านนี้ เล่าว่า
พ่อค้าชาวจีนย้ายมาจากย่านวังบูรพาเพื่อมาประกอบอาชีพในย่านนี้ คาดว่าน่าจะเริ่มเข้ามาในช่วงทศวรรษ
2520-2530
ส่วนงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อความเท่าเทียมกันของคนในสังคมเมืองกรุงเทพฯ
ของวิจิตรบุษบา มารมย์ ให้ข้อมูลว่า เดิมศูนย์กลางการค้าขายเครื่องหนังในกรุงเทพฯ
อยู่บริเวณย่านเสือป่าและคลองเตย เป็นหลัก เมื่อเมืองขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
จึงมีการขยับพื้นที่การค้าข้ามมายังฝั่งธนบุรี บริเวณซอยสารภี
และขยายมาถึงถนนเจริญรัถในที่สุด
ร้านวัฒนพรพาณิชย์: ตัวอย่างความเติบโตของธุรกิจเครื่องหนัง
ร้านวัฒนพรพาณิชย์
ได้ถูกบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาไว้กับวารสาร Unseen Shopping Districts 2017 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมว่า ธุรกิจโรงงานผลิตกระเป๋าหนังของครอบครัว
เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นยุคที่ธุรกิจเครื่องหนังเฟื่องฟูและเติบโตอย่างมาก
จากโรงงานก็เริ่มขยายเปิดหน้าร้านแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
และนำผืนหนังในสต็อกที่ยังไม่ได้แปรรูปมาจำหน่าย
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มาซื้อไปผลิตเครื่องหนังต่อ
จนกลายมาเป็นร้านวัฒนพรพาณิชย์ ซึ่งมีหนังสัตว์
หนังเทียมคุณภาพดีจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
MHA Leather Work School: ศูนย์กลางการเรียนรู้และการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
หนึ่งในผู้บุกเบิกสำคัญที่ทำให้ย่านเจริญรัถเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นกว่าในวงการผู้ประกอบการเครื่องหนัง
คือ MHA
Leather Work School โรงเรียนสอนงานหนัง มหาอาร์ต
ซึ่งเปิดให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ.2557 เราพัฒนาหลักสูตรให้ครอบคลุมในทุกระดับความรู้
เริ่มตั้งแต่คอร์สปรับพื้นฐาน ที่ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเรียนได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน ไปจนถึงเทคนิคขั้นสูง เช่น การทำกระเป๋าหนังพรีเมียม
งานหนังชิ้นเล็กเพิ่มมูลค่าให้เครื่องหนัง
นักเรียนที่เข้ามาเรียนรู้วิธีการทำเครื่องหนังที่นี่ออกไปสร้างธุรกิจของตัวเองแล้วมากกว่า
100 ธุรกิจ
คุณบุญชัย บุญนพพรกุล ผู้ก่อตั้งเคยให้สัมภาษณ์ไว้กับ Trawell Thailand ว่า ด้วยความที่ตนเองเกิดและเติบโตในย่านวงเวียนใหญ่ มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในย่านนี้มาโดยตลอด มีผู้คนใหม่ๆ เข้ามาเปิดร้านทำธุรกิจ มีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นหลายแห่ง จึงคิดสร้างพื้นที่ที่จะเชื่อมโยงชุมชนกับคนกลุ่มใหม่ๆ ให้ต่างฝ่ายต่างรู้จักกันมากขึ้น เมื่อหันไปมองต้นทุนที่ตัวเองมีโรงงานทำเครื่องหนังของครอบครัวอยู่แล้ว จึงนำกระบวนการทำเครื่องหนังมาเป็นตัวกลางที่เชื่อมคนหน้าใหม่เข้ากับชุมชนแห่งนี้ ก่อนที่จะลงมือทำเครื่องหนังสักชิ้น นักเรียนจะต้องรู้วิธีเลือกหนัง เลือกอุปกรณ์ทำหนังจากตัวจริงในย่านเจริญรัถก่อน เป็นการสร้างความคุ้นเคย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการคนอื่นๆ ในย่านไปด้วยในคราวเดียวกัน
เจริญรัถกับการเป็นย่านนวัตกรรมคลองสาน
ปัจจุบันเจริญรัถเป็นส่วนหนึ่งของย่านนวัตกรรมคลองสาน ซึ่งได้รับการประกาศจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ให้เป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาองค์ความรู้ ด้วยวิทยาการและความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างเอกลักษณ์เชิงบวกของพื้นที่ ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ และภาคีใหม่ (Community-Based Innovation) โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นตัวกลาง เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างจริงจัง
อนาคตของย่านเจริญรัถในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
แต่ละย่านมีเรื่องราวที่มาที่ไปเป็นของตัวเอง
เส้นทางรถไฟเดิมหายไป ย่านค้าหนังขึ้นมา ผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามาริเริ่มทำธุรกิจ
ทดลองปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัย
มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเติมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดความเป็นไปได้อีกมากมาย
อนาคตข้างหน้าของเจริญรัถจะเป็นอย่างไรจึงน่าจับตามองอย่างยิ่ง

