กาญจนบุรีกับยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
ประวัติศาสตร์เมืองกาญจน์ ในการมีอยู่และเคยเป็นอยู่ กาญจนบุรีกับยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
จุดเริ่มต้นของประวัติทางรถไฟสายมรณะ
ประเทศไทยในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี ค.ศ. 1941 หลังจากญี่ปุ่นบุกเข้ามาในประเทศ ไทยจึงกลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในแผนการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยและพม่าเพื่อลำเลียงเสบียงและยุทโธปกรณ์รวมระยะทางกว่า415 กิโลเมตรโดยการสร้างนั้นใช้เวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น เริ่มต้นตั้งแต่สถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนถึงด่านเจดีย์สามองค์ มีความยาวของเส้นทางอยู่ที่ 303.95 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการสร้างโดยใช้แรงงานเชลยศึกและแรงงานท้องถิ่นจำนวนมาก ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นป่า ขาดแคลนอาหาร ผู้คนหลายคนจึงล้มตายเป็นจำนวนมากเป็นที่มาของชื่อ "ทางรถไฟสายมรณะ" นั่นเองปัจจุบันทางรถไฟเป็นนี้ ได้กลายมาเป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ที่พาคนเดินทางย้อนชมธรรมชาติโดยรอบของกาญจนบุรีและยังคงระลึกถึงเรื่องราวในอดีต ของการมีอยู่ของเส้นทางรถไฟสายนี้
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแควสร้างขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟของกองทัพญี่ปุ่นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปเมืองธันบูซายัต ประเทศพม่า ซึ่งการสร้างทางรถไฟเส้นทางดังกล่าว บางแห่งต้องทำสะพานข้ามน้ำลึกและเชี่ยวกรากกองทัพญี่ปุ่นเลือกสร้างสะพานข้ามน้ำแควใหญ่ที่บริเวณบ้านท่ามะขาม (สมัยนั้นเรียกว่าบ้านท่าม้าข้าม) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากพื้นดินด้านล่างมีความหนาแน่น ระยะแรกสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราวก่อน ห่างจากสะพานปัจจุบัน 100 เมตร ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 เดือน ต่อมา สร้างเป็นสะพานเหล็กถาวรโดยนำเหล็กจากมะลายูมาประกอบกัน วางรางโดยเชลยศึกชาวอังกฤษ สะพานมีความยาวทั้งหมด 300 เมตรแบ่งเป็น 11 ช่วงตอม่อคอนกรีต เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2487 ในระหว่างสงครามสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกทหารสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศโดยการทิ้งระเบิดอย่างหนักจนสะพานหักท่อนกลาง ซึ่งต่อมาญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2488 ต่อมา ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม ผสมกับไม้ มีเส้นทางเดินเท้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่สามารถเดินข้ามสะพานได้อย่างปลอดภัย จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบันปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจรของรถไฟสายธนบุรี - น้ำตก หรือ ทางรถไฟสายมรณะ และได้กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการยกย่องให้เป็น "สัญลักษณ์แห่งสันติภาพในอดีต” และในทุกๆปี ทางจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ประจำปีทุกปี ซึ่งมีการแสดงสีเสียง ย้อนรำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
สุสานทหารพันธมิตร ดอนรัก
จากนักรบ สู่ผู้หลับใหล ณ ที่ ที่รำลึกแด่ทหาร
ผู้จากไปด้วยภารกิจสงครามโลกครั้งที่ 2 บนแผ่นดินกาญจนบุรี
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่ผู้เสียชีวิตขึ้นหลายแห่งในทวีปเอเชียซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญ มีอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ในหลายประเทศ คือ ในประเทศไทย 2 แห่ง พม่า 3 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง บังกลาเทศ 5 แห่ง ปากีสถานและศรีลังกาอย่างละ 2 แห่ง สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ในการสร้างสุสานสองแห่ง คือ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (สุสานดอนรัก) และสุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูน (หรือสุสานช่องไก่) อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ที่กาญจนบุรียังมีอนุสรณ์สถานที่สร้างโดยทหารญี่ปุ่นเพื่อคาระวะแด่ดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในระหว่างสงคราม คือ อนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์ ส่วนกรรมกรชาวเอเชียอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตไปโดยไม่มีผู้ใดจดบันทึกไว้นั้น มีการสร้างอนุสาวรีย์กรรมกรและทหารนิรนามไว้ที่ป่าช้าวัดญวน และโครงกระดูกอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 "สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก” หรือ “สุสานทหารสหประชาชาติ” หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า “ป่าช้าอังกฤษ” เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดยเชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์) ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่างๆและยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า และทุกปีจะมีวันที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่างๆได้แก่ วัน Anzac Day 25 เมษายน ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ วัน Armistice Day 5 พฤษภาคม ของชาวเนเธอร์แลนด์ วัน Remembrance Day 11 พฤศจิกายน ของชาวอังกฤษ วันนี้ของสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก ยังเป็นสถานที่แห่งการระลึกถึงจากทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่เดินทางมา ณ ที่แห่งนี้
บทเรียนจากอดีต
ร่องรอยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ได้มีไว้เพื่อย้ำเตือนถึงความขัดแย้งเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นบทเรียนที่สำคัญให้กับโลกปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การก่อตั้งสหประชาชาติ (United Nations) เป็นตัวอย่างของความพยายามที่จะสร้างสันติภาพและป้องกันไม่ให้เกิดสงครามในอนาคต และไม่ว่า สถานที่ สิ่งของ และเรื่องเล่า ยังคงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเรากับอดีต ทุกวันที่เราส่องกระจกภาพเงาของเราคงสะท้อนความจริงได้ทั้งหมด มองลึกเข้าไปถึงสายตา ใบหน้า และเลือดเนื้อในภายใต้เงากระจกสะท้อนมา เช่นเดียวกันกับปัจจุบันขณะของเราที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ ก็สะท้อนเรื่องราวในอดีตของประเทศชาติและของโลก ด้วยเหตุการณ์การต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งและการแย่งชิง รอยต่อของความขัดแย้งเหล่านี้ ไม่ได้นำมาซึ่งความเจริญ หรือแม้แต่ความสงบสุกแต่อย่างได มิหนำซ้ำยังพรากความสุข พรากคุณพ่อไปจากลูกๆ ของใครสักคน พรากลูกๆของพ่อแม่ที่รอกินเข้าวเย็นด้วย พรากอ้อมกอดที่รอจะได้รับความอบอุ่นนั้นไปตลอดกาล เตือนใจให้มนุษย์ระลึกถึงความสำคัญของสันติภาพ การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้โลกของเราไม่ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมเช่นนี้อีกต่อไป ความสูญเสียที่เกิดจากหน่วยเล็กๆ ส่งผลไปยังระดับมหภาพและกรจายเป็นวงกว้าง การเกิดสงครามไม่มีฝ่ายไหนแพ้หรือชนะทุกฝ่ายมีแต่ฝ่ายที่สูญเสีย พร้อมที่จะทิ้งรอยแผลเป็นนี้ฝังลึกไปตลอด สิ่งเดียวเรายังพอจะทำได้ในตอนนี้ คงต้องใช้กระจกมนุษยธธรมในตัวเรา เรียนรู้และเข้าใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความมแตกต่างทางชาติกำเนิด ศาสนา ภาษา หรือแม่กระทั้งเพศสภาพ ไม่ควรเป็นฉนวนของความขัดแย้งนั้นๆ ได้ หากเราเข้าใจและตระหนักความเป็นคนมากขึ้นโดยไม่ใช้นมาตรวัดทางความคิดของตนเอง ตัดสินใครได้ และขอสดุดีให้กับทุกสัพสิ่งที่สูญเสียและการลาในทุกๆเหตุการณ์บนโลกใบนี้….
------------------------------
อ้างอิงจากย้อนรอยประวัติทางรถไฟสายมรณะ มรดกแห่งสงครามที่ไม่อาจลืมเลือน
https://www.homephutoeyriverkwai.com/th/kanchanaburi-blog/history-of-bridge-of-river-kwai/
สุสานสัมพันธมิตรดอนรัก
https://ww2.kanchanaburi.go.th/travel/detail/28
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี

