GREEN LOGISTICS คำตอบของธุรกิจโลจิสติกส์ยุคใหม่
GREEN
LOGISTICS คำตอบของธุรกิจโลจิสติกส์ยุคใหม่
ท่ามกลางวิกฤติสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการโลจิสติกส์นอกจากเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วแล้วยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่ง
Green Logistic หรือโลจิสติกส์สีเขียวตอบโจทย์การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่ช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
ล้อมกรอบ
- ปริมาณการปล่อยมลพิษของภาคการขนส่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั่วโลก
- ข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกจากการขนส่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 60% ภายในปี 2593
Green
Logistics คืออะไร
โลจิสติกส์สีเขียว
(Green Logistics) คือ แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเครือข่าย
โลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า
มีหัวใจสำคัญคือการออกแบบและวางแผนโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน
ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ รวมถึงการกระจายสินค้าเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศจากกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด
ช่วยให้ธุรกิจสร้างผลกำไรโดยไม่กระทบต่อลูกค้าหรือทำลายสมดุลของสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันหลายองค์กรเร่งศึกษาและปรับใช้แนวทางโลจิสติกส์ยั่งยืนพร้อมกับเทคโนโลยีล้ำสมัย
อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine
Learning) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
ขับเคลื่อนสู่
Green Logistics อย่างไร
1)
เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Model
Shift) จากรูปแบบที่ปล่อยมลภาวะสูง เช่น ขนส่งทางถนน
ด้วยรถบรรทุก ฯลฯ ไปสู่รูปแบบการขนส่งที่ปล่อยมลพิษน้อยกว่า เช่น
ขนส่งทางรางด้วยรถไฟ ฯลฯ
2)
ขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint
Transportation)
ปรับปรุงประสิทธิภาพขนส่งสินค้า โดยรวมสินค้าจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายเข้าด้วยกันเพื่อลดพื้นที่ว่างในการขนส่งแต่ละครั้ง
แต่ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด เพราะการบรรทุกน้ำหนักเกินพื้นถนนรองรับได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
3) รวมและจัดวางตำแหน่งที่ตั้งคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า
(Unification and Relocation of Cargo Bases) จากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้าและจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกันเพื่อลดเวลาการขนส่งสินค้า
(Delivery Time) ทำให้ปล่อยมลพิษลดลง
4) ใช้เทคโนโลยีลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษ เช่น ใช้ยานพาหนะไฟฟ้า ใช้อุปกรณ์ดักจับมลพิษจากท่อไอเสีย
ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล ฯลฯ
5)
สร้าง ดูแลรักษา ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง เช่น ถนน สถานีขนส่งสินค้า สถานีรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ
6) นโยบายภาครัฐ ออกนโยบายและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษในภาคการขนส่ง
ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร
ประโยชน์ของ Green Logistics
- ลดมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS) ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก โดยปรับปรุงเส้นทางขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้น้ำมัน และบริหารการใช้รถบรรทุกให้เหมาะสม
- เพิ่มโอกาสทางการค้า การให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์สีเขียวช่วยให้ธุรกิจเติบโตในตลาดโลกได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันหลายประเทศมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด ธุรกิจที่มีแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและพันธมิตร อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่มีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน หากธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อมจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าประจำ
- ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร ลดระยะทางและจำนวนครั้งของการขนส่งสินค้า อย่างการวิเคราะห์สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ ช่วยให้วางแผนเส้นทางขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าน้ำมันและเวลาในการขนส่ง
- เสริมภาพลักษณ์องค์กร การดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมช่วยให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร โดยเฉพาะตลาดที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
ล้อมกรอบ
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานระบุว่า การบริหารจัดการด้วยแนวคิด
Green Logistics ทำให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลง
อย่างการใช้รถพลังงานไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายต่อปีดลดลงประมาณร้อยละ 69.87 เพราะค่าซ่อมบำรุงและต้นทุนพลังงานถูกลง
อนาคตของ Green
Logistics
อนาคตของโลจิสติกส์สีเขียวกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโลจิสติกส์ 4.0 ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยการผสานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ข้อมูลดิจิทัล หุ่นยนต์อัตโนมัติ ชั้นวางอัตโนมัติ ระบบพาเลทอัตโนมัติ และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งปัจจุบันภาคโลจิสติกส์ได้นำแนวคิด Green Logistics มาปรับใช้มากขึ้น เช่น ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจัดส่งพัสดุ Delivery Service ใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลหรือก๊าซธรรมชาติในรถบรรทุก นำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นต้น เพราะโลจิสติกส์สีเขียวไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแต่ยังช่วยให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต
ข้อมูลอ้างอิง :
- www.ar-racking.com/en/blog/green-logistics-what-is-it-what-are-its-advantages-and-how-can-it-be-applied/
- www.bangkokbiznews.com/environment/1121361#google_vignette
- www.nationtv.tv/gogeen/378909264
- www.skyfrog.net/home/get-to-know-green-logistics/#
- thailandsupplychain.com/home/news-detail?id=471
- www.skyfrog.net/home/green-logistics-challenges-and-opportunities/#
- www.sap.com/uk/insights/green-logistics.html

