นครพนม

ของโขง

12 พฤศจิกายน 2024
|
576 อ่านข่าวนี้
|
0





KONGKHONG

ของโขง


                “แม่น้ำโขง” แม่น้ำสายสีโอวัลตินทอดยาวลัดเลาะเลียบแนวชายฝั่งขวาราว 174 กิโลเมตร เป็นอาณาเขตที่กั้นพรมแดนระหว่าง “จังหวัดนครพนม ประเทศไทย" และประเทศเพื่อนบ้าน  “สปป.ลาว” ฝั่งตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนมที่มองเห็นบ้านเรือนเพื่อนบ้านได้อย่างชัดเจนคือ “แขวงคำม่วน” หรือชื่อเดิมที่เรียกติดปากกันมาเนิ่นนานคือ “เมืองท่าแขก” นั่นเอง







"ปุระ บุรี เมือง"


       ซึ่งหากดูให้ดี ๆ แล้ว แผนที่จังหวัดนครพนมมีลักษณะคล้ายสุ่มดักปลา อุปกรณ์หาอยู่หากินของชาวประมงอีสาน ในอดีต นครพนมเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีโคตรบูรที่รุ่งเรือง ซึ่งคำว่า “บูร” ในท้ายคำว่า “ศรีโคตรบูร” นั้นเป็นศัพท์โบราณซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า “ปุระ” หรือ “บุรี”  ที่แปลว่า “เมือง” ในภาษาถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตรงกับคำว่า “เบิร์ก” หรือ “โบโรห์” ในภาษาตะวันตก ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เกิดสงครามอินโดจีน และสงครามเวียดนาม-ฝรั่งเศส จากเหตุการณ์สำคัญระดับโลกดังกล่าว ทำให้มีการอพยพลี้ภัยและย้ายถิ่นฐานของชาวเวียดนามและลาวเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดนครพนมเป็นจำนวนมาก ทำให้นครพนมกลายเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ระดับนานาชาติและวัฒนธรรมร่วม “ไทย-เวียดนาม-ลาว” มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และด้วยความแตกต่างหลากหลายของผู้คนที่อยู่ร่วมกันนี้ ส่งผลให้บริบทเมืองนครพนม ทั้งด้านศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิต มีความเป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์อย่างชัดเจน




“เมืองมรุกขนคร”




         ย้อนกลับไปในอดีตก่อนที่ “นครพนม” จะมีชื่อว่า “นครพนม” ได้มีชื่อว่า “เมืองนครบุรีธานีศรีโคตรบูรหลวง” จากจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบาน นั่นเพราะนครพนมเคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย ซึ่งจากเอกสารล้านช้างส่วนใหญ่จะให้ชื่อเมืองว่า “เมืองลคร” หรือ “เมืองนคร” เดิมทีนครพนมอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง หรือเมืองเก่าท่าแขกบริเวณหมู่บ้านสีโคด รอบ ๆ วัดพระธาตุศรีโคตรบูร หรือภาษาท้องถิ่นเรียก “พระธาตุศรีโคตรบอง" (ฝั่งสปป.ลาวในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2321 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ ในปัจจุบันยังเรียกบริเวณนี้ว่า “บ้านเมืองเก่า” ก่อนจะย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่ “บ้านโพธิ์คำ” ซึ่งคือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน เดิมทีมีชื่อว่า “เมืองมรุกขนคร” และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ตีเมืองนครเวียงจันทน์สำเร็จ ในช่วงปี พ.ศ. 2329-2333 เจ้าเมืองนครพนมหรือเมืองศรีโคตรบอง จึงได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช จึงได้รับพระราชทานนามใหม่เป็น "นครพนม" ที่มีข้อสันนิษฐานว่า มาจากการที่นครพนมเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดกับทิวเขาจำนวนมาก และที่ใช้คำว่า "นคร" นำหน้า เพื่อให้เมืองอยู่ในระดับฐานะเมืองลูกหลวง จากการเดินทางไกลในอดีตที่หล่อหลอมให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในจนถึงปัจจุบัน ทำให้ “เมืองนครพนม” กลายเป็นเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมของผู้คนที่อยู่รวมกันถึง 9 ชาติพันธุ์ และ 2 เชื้อชาติ คือคนไทยเชื้อสายเวียดนาม และคนไทยเชื้อสายจีน มีโบราณสถานและสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตกจำนวนมาก มีอาหารท้องถิ่นที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวของอาหารไทย ลาว เวียดนาม และจีน และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่มีวิถีผูกพันกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาตินั้นอย่างโดดเด่น


        



               




RESTINATION


“เมืองแห่งการพักผ่อน” RESTINATION


แม้ “นครพนม” ในปัจจุบัน จะขึ้นชื่อเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็ก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายในการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่อง “เมืองแห่งการพักผ่อน” ที่พร้อมมอบประสบการณ์การพักผ่อนที่สบายที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยให้กับผู้คนที่มาเยือน และพร้อมกันนั้น ประวัติศาสตร์หลากหลายด้านของการเป็นเมืองที่มีถึง 9 ชาติพันธุ์ และ 2 เชื้อชาติ นี้ ก็ทำให้นครพนมเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีเสน่ห์ เป็นเมืองเดินได้ ผู้คนไม่พลุกพล่าน แต่มีความพร้อมทั้งเรื่องพัก อาหาร การเดินทาง และแหล่งท่องเที่ยวในทุกมิติ ซึ่งการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาของทุกสิ่งที่หลอมรวมให้เกิดเป็นนครพนม  


   





“นครพนม”  ถูกหยิบนำมาเล่าผ่านมุมมอง “ของโขง” (Kongkhong) เมืองที่เกิดและเคียงคู่แม่น้ำโขงมาโดยยาวนานคำว่า“ของ” ในตัวเนื้อความหมายก็เป็นเสมือน วัถตุ สิ่งมีชีวิต ข้าวของสิ่งต่างๆ  ที่เกิดจากการผลิตหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ในบางแง่มุม “ของ” ก็แสดงถึงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในสิ่งๆนั้น มีนัยยะว่า “ผู้มีบุญคุณ” หรือ “ผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์”เหล่านั้น บางพื้นที่แม่น้ำโขง ก็ถูกเรียกชื่อด้วยคำว่าแม่น้้าของ ตามแต่พื้นที่ละพื้นที่ภูมิภาค ชาติพันธ์ หรือภาษาท้องถิ่น  แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตและจิตวิญญาณผู้คนที่รายรอบตลอดเส้นสายธารนี้   เฉกเช่นเดียวกับ “นครพนม”  ที่สรรพสิ่งล้วนเวียนวายอยู่ภายใต้แม่น้ำโขงแห่งนี้ ไหลเวียนเมือง ผู้คน วัฒนธรรม ถิวี  เรื่องราว  ที่ตลอดสายน้ำโขงไหลผ่านจังหวัดนครพนม เป็นแหล่งพลังงานที่เกิดเนิดข้าวของต่างๆ ณ พื้นที่แห่งนี้ขึ้น…

 


0 ความคิดเห็น

Ask OKMD AI