ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อโรงเรียนเปิด เด็กๆ ไปโรงเรียน แล้ว ‘รถติด’ และปัญหาของปริมาณรถบนท้องถนนที่มากขึ้น ก็สะท้อนมลพิษที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม แทนที่จะขับรถ ต้องให้ลูกตื่นเช้า ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ที่ฮังการี เด็ก ๆ และผู้ปกครองเลือกที่จะเดินและขี่จักรยานไปโรงเรียนด้วยกันผ่านโครงการ ‘Pedibus’ และ ‘Bicibus’
เริ่มต้นจากโครงการ ‘Pedibus’ เป็นภาษาละตินที่ถูกใช้แถบประเทศเยอรมนี ฮังการี เทียบเคียงกับภาษาอังกฤษ คือคำ ‘Walking School Bus’ (WSB) ซึ่งมีต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่นพูดง่ายๆ ก็คือ เด็กและผู้ปกครองจะเดินไปโรงเรียน มีป้ายรถเมล์คล้ายกับรถบัส รับเพื่อนระหว่างทาง แล้วไปโรงเรียนพร้อม ๆ กัน
ฝั่งยุโรป ‘Pedibus’ หรือ WSB ถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่แคนาดาในปี 1996 จากนั้นสวิตเซอร์แลนด์ก็นำมาใช้ในปี 1999 เริ่มทำโครงการครั้งแรกในเมืองโลซาน ซึ่งนำไปสู่การจัดระเบียบเส้นทางมากกว่า 1,500 เส้นทางจนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กเตรียมอนุบาลไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (2-18 ปี) มีสองวัตถุประสงค์หลักคือแก้ปัญหารถติด และลดความวุ่นวายหน้าประตูโรงเรียน ทั้งยังเป็นระบบการขนส่งที่ยั่งยืน
ในประเทศฮังการี Pedibus ให้บริการครั้งแรกที่เมือง ใน Budakalász ในเดือนกันยายน 2021 ต่อด้วยการเริ่มโครงการเมืองเกอเดิลเลอ (Gödöllő) ที่เริ่มให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2021 จนปัจจุบัน (ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน 2024) มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14 โรง และดูเหมือนว่าการให้บริการที่เมืองเกอเดิลเลอจะเป็นโครงการที่ตอบโจทย์เมืองที่มีประชากรราว 30,000 กว่าคน ทั้งยังช่วยลดติด สร้างสภาพแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืนและน่าอยู่ได้ ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ทำงานของคนวัยเกษียณที่มาอาสาเป็นคนขับรถที่ทำให้พวกเขาไม่โดดเดี่ยว และมีโอกาสออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ด้วย
- Petra Kinga Kézai. (2024). SUSTAINABLE URBAN MOBILITY PROGRAMS THAT SERVE AS ACTIVE TRAVEL TO SCHOOL PROGRAMS IN HUNGARY: THE CASE OF PEDIBUS AND BICIBUS. Institue of Geography and Spatial Organization, Polish Academy of Science
- https://bicibus.eu/en/what-is-a-bicibus-and-characteristics/