Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

สาหร่ายขนาดเล็ก และไซยาโนแบคทีเรีย "แหล่งอาหารทาง...

16 สิงหาคม 2024 48 อ่านข่าวนี้ 3 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  
หมวดหมู่ : #23.3การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม 


อาหารทางเลือกสุขภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบสำหรับคนรักสุขภาพ เพื่อลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียม และไขมัน

ตอนนี้ ‘สาหร่ายขนาดเล็ก และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)’ ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรักสุขภาพ เพราะเป็นทั้งแหล่งโปรตีน และยังเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืน คลังข้อมูลของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พูดถึงการนำสาหร่ายมาประกอบอาหารว่า มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาเป็นอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ใช้สาหร่ายสีแดงชนิดที่เรียกว่า จีฉ่าย มาปรุงเป็นแกงจืด ส่วนประเทศไทย คนไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้สาหร่ายที่เรียกว่า เทาน้ำ (Spirogyra sp.) มาปรุงเป็นอาหารผสมลงในแกงต่างๆ

สำหรับสาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) จัดเป็นพืชชั้นต่ำเซลล์เดียว มีขนาดเล็ก สามารถมองเห็น โครงสร้างของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ มีคลอโรฟิลล์จึงสามารถสร้างอาหารเองได้เช่นเดียวกับ พืชทั่วไป เจริญเติบโตและพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และน้ำเสีย อีกทั้งคุณค่าอาหารจากสาหร่ายขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เอนไซม์ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินเอ ซี บี1 บี2 ไนอะซีน ไอโอดีน โพแทสเซียม เหล็ก แมงกานีส และแคลเซียม แม้จะเล็กจนแทบมองไม่เห็น แต่กลับมีข้อดีและเป็นตัวช่วยสำคัญในระบบนิเวศ ทั้งยังถูกไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น

  • นำไปเป็นองค์ประกอบอาหารเสริม และใช้ประกอบอาหารให้กับคนและสัตว์ เพราะสาหร่ายขนาดเล็กมีปริมาณโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมันสูง
  • สามารถนำไปผลิตเชื้อเพลิง
  • ช่วยลดมลพิษในน้ำเสียและลดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำ
  • ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางเพื่อดูแลผิวหน้าและผิวกาย

ส่วนไซยาโนแบคทีเรียก็ถูกนับเป็นหนึ่งในประเภทของสาหร่ายขนาดเล็กมีความสำคัญในระบบนิเวศ เนื่องจากสามารถสังเคราะห์แสงได้ และมีความหลากหลายในการพบได้ทั้งในที่ที่มีความชื้น เช่น บนดินที่มีความชื้น น้ำจืด และทะเล ทั้งยังมีประโยชน์หลากหลายด้านเช่นเดียวกับสาหร่ายขนาดเล็กทั่วไป สำหรับคุณค่ากับร่างกาย ไซยาโนแบคทีเรียมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุ ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางธุรกิจจึงนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารเสริม ขณะที่เมื่อไปอยู่ในฝั่งเกษตรสามารถนำไปเป็นตัวช่วยในการเพาะปลูก หรือด้วยความที่มีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้

นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยที่บอกว่า ไซยาโนแบคทีเรีย มีคุณสมบัติในการเพิ่มออกซิเจนของน้ำในคลองแสนแสบได้ โดยไซยาโนแบคทีเรียปริมาณ 0.2 กรัมต่อน้ำ 200 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มน้ำได้ 1.5 เท่า จึงสรุปได้ว่า แม้จะเป็นเซลล์เล็กมาก ๆ แต่คุณค่าที่เกิดขึ้นนั้นยิ่งใหญ่และสร้างผลกระทบกับระบบนิเวศ ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารทางเลือกคุณค่าโภชนาการเหลือล้น


แหล่งอ้างอิง :
  • พิสิฐ วงศ์สง่าศรี, ภมรพรรณ ฉัตรภูมิ และ จารุวรรณ สุพรรณพยัคฆ์. 2018. การเก็บเกี่ยวสาหร่ายขนาดเล็ก (Chlorella sp.) ด้วยการใช้ไฟฟ้า. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • เอกสารความรู้เกี่ยวกับ น้ำมันเชื้อเพลิงจากสาหร่าย โดยกลุ่มพัฒนามาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
  • นารินทร์ จันทร์สว่าง. 2561. อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์จาก สาหร่าย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 33 (1).
  • ศักดิ์ ละลอกน้ำ และบงกช บุญบรูพงษ์. 2555. ศักยภาพของไซยาโนแบคทีเรียในอนาคตประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 3(2).
  • https://siweb.dss.go.th/index.php/th/food-abstract/2982-2020-03-31-03-16-58
  • https://healthierlogo.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%
  • https://scimath.org/article-biology/item/585-algae


URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ