Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

ยกระดับการรักษามะเร็งด้วย Spatial Omics ที่ละเอียด...

06 กันยายน 2024 34 อ่านข่าวนี้ 2 เดือนก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  
หมวดหมู่ : #23.2การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านสังคม 


19.9 ล้านคน คือ จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งจากกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund International) ในปี 2022

ส่วน 9.7 ล้านคน คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้คนราว 53.5 ล้านคน ที่รอดชีวิตจากโรคนี้ หลังจากได้รับการวินิจฉัยประมาณ 5 ปี

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน

Spatial Omics
ในอดีตโรคมะเร็งอาจเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คน แต่ทุกวันนี้วงการแพทย์เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่มี ‘Spatial Omics’ เทคโนโลยีที่จะช่วยให้คุณหมอสามารถศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ มาวินิจฉัยโรคและสามารถรักษามะเร็งได้อย่างตรงจุด

โดย Spatial Omics เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาจากเทคนิคการตัดเนื้อเยื่อด้วยเลเซอร์ (Laser Capture Microdissection - LCM) การใช้เลเซอร์เพื่อทำการตัดและเก็บเซลล์ในตำแหน่งที่ต้องการ ที่จะช่วยให้เก็บข้อมูลเนื้อเยื่อได้โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิมโดย Spatial Omics เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาจากเทคนิคการตัดเนื้อเยื่อด้วยเลเซอร์ (Laser Capture Microdissection - LCM) การใช้เลเซอร์เพื่อทำการตัดและเก็บเซลล์ในตำแหน่งที่ต้องการ ที่จะช่วยให้เก็บข้อมูลเนื้อเยื่อได้โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนา Spatial Omics ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การใช้บาร์โคด (Spatial Barcoding) บันทึกข้อมูลทางพันธุกรรมและโปรตีนในตำแหน่งเกิดโรคที่แน่นอนได้พร้อมกัน

ถือเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับคุณหมอในการวิเคราะห์โรคมะเร็งและการเติบโตของชิ้นเนื้อ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที  


‘แผนที่โรคมะเร็ง’ 

นอกจากนี้ Spatial Omics ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าง ‘แผนที่โรคมะเร็ง’ กล่าวคือ การสร้างแผนที่ที่แสดงถึงข้อมูลและลักษณะต่าง ๆ ของโรคมะเร็งในระดับข้อมูลประชากรหรือระดับเซลล์ของแต่ละบุคคล 

ในเชิงข้อมูลประชากร แผนที่มะเร็งระดับประชากรจะสะท้อนให้เห็นถึงการกระจายตัวของโรคมะเร็งในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์อัตราการเกิดโรคมะเร็งในแต่ละภูมิภาค หรือแต่ละประเทศ ทั้งยังช่วยระบุปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตแต่ละพื้นที่ได้

ส่วนแผนที่ทางการแพทย์ Spatial Omics จะทำให้เห็นโครงสร้างและการทำงานของชิ้นเนื้อและการกระจายตัวของชิ้นเนื้อ โดยจะเป็นแผนที่มะเร็งที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ยีนและโปรตีนในแต่ละเซลล์ที่อยู่ภายในชิ้นเนื้อในระดับที่ละเอียดมาก

อีกทั้ง Spatial Omics ยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาการรักษาให้มีความแม่นยำมากขึ้น และสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนจากชิ้นเนื้อที่จะนำไปสู่การสร้างแผนที่โรคมะเร็งซึ่งจะเป็นต้นแบบในการรักษาในอนาคต

ปัจจุบัน Spatial Omics มีการใช้งานจริงในประเทศที่มีการวิจัยทางการแพทย์และชีววิทยาที่ก้าวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น

ขณะเดียวกัน ปริมาณของผู้ป่วยและกระแสของการลงทุนในเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สูง ก็ทำให้การลงทุนในเทคโนโลยี Spatial Omics มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าตลาดในปี 2023 อยู่ที่ 364.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตอีก 10.21% ในปี 2024 - 2030

ส่วนประเทศไทย อาจอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและรอให้เทคโนโลยีนี้มีการใช้งานจริง ซึ่งอาจเป็นการยกระดับวงการแพทย์ไทยไปอีกขั้น และยังเป็นการต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่ง


อ้างอิง :

  • Wu, Cheng and others. (2021). Spatial omics: Navigating to the golden era of cancer research. Clinical and Translational Medicine. Wiley and Shanghai Institute of Clinical Bioinformatics 
  • www.hfocus.org/content/2024/02/29679
  • www.wcrf.org/cancer-trends/worldwide-cancer-data/
  • www.who.int/news/item/01-02-2024-global-cancer-burden-growing--amidst-mounting-need-for-services
URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ