Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

UNIQUE SELLING POINT สร้างความแตกต่างสุดโดดเด่นให้...

17 มกราคม 2025 10 อ่านข่าวนี้ 2 สัปดาห์ก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท ผู้ประกอบการและ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่  
หมวดหมู่ : #8.1การสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ 


การสร้างจุดต่างและความโดดเด่นที่ไม่ซ้ำใครเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ชนะคู่แข่ง Unique Selling Point (USP) จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญเพื่อสร้างแบรนด์ให้แตกต่าง มีจุดขายที่ได้เปรียบคู่แข่งและแข็งแกร่งจนก้าวเป็นผู้นำในตลาดอย่างแท้จริง

ทำความเข้าใจ UNIQUE SELLING POINT

Unique Selling Point (USP) เป็นการขายหรือข้อเสนอการขายในแบบที่ไม่ซ้ำใคร มีลักษณะเฉพาะเจาะจง มีปัจจัยที่ทำให้สินค้าและบริการโดดเด่นและแตกต่างมากกว่าคู่แข่ง สร้างข้อได้เปรียบให้สินค้าหรือบริการน่าสนใจผ่านคุณสมบัติ คุณภาพ ราคา การบริการลูกค้า ความสะดวกสบาย โดยลูกค้าจะเปรียบเทียบ พิจารณาข้อดีข้อเสีย หากแตกต่างและมีคุณภาพที่ดีย่อมทำให้ลูกค้าสนใจ พร้อมจ่าย เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น เกิดการใช้ซ้ำ ผูกพันนำไปสู่ Customer Loyalty

USP สำคัญแค่ไหน

  • สร้างความต่างในตลาดระหว่างคู่แข่ง ดึงดูดความสนใจ ประทับใจ และโดดเด่น
  • นำเสนอคุณค่าของแบรนด์ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคน
  • สร้างเอกลักษณ์และการรับรู้ของแบรนด์
  • เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
  • ผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจในแบรนด์

ประเภทการทำ Unique Selling Point 

  1.  USP ด้านผลิตภัณฑ์ (Product-based USP)
    สร้างสินค้าที่แตกต่าง แก้ปัญหาลูกค้า ปรับปรุงสินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างในตลาด 
  2. SP ด้านบริการ (Service-based USP)
    ปรับปรุงหรือสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการบริการที่แตกต่าง มีความเฉพาะตัว ยากต่อการเลียนแบบ
  3. USP ด้านราคา (Price-based USP)
    ราคาชัดเจนเป็นข้อได้เปรียบของแบรนด์ สามารถแข่งกับ
    แบรนด์อื่นๆ ได้ 
  4. USP ด้านอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand-based USP)
    ใช้ความเฉพาะเจาะจงของแบรนด์เพื่อบอกความแตกต่างและข้อได้เปรียบอย่างเทคโนโลยี คุณภาพ สมรรถนะ หรือประสบการณ์การใช้งาน
  5. USP ด้านลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche-based USP)
    สินค้าหรือบริการจะสอดรับไปกับประสบการณ์ของกลุ่มนั้นๆ สามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อื่นได้

คุณสมบัติที่ดีของ Unique Selling Point 

  • เน้นการแสดงออกแต่ไม่โจมตีคู่แข่ง สร้างการรับรู้ให้ลูกค้าแบบไม่ต้องโจมตีใคร
  • สำรวจความต้องการของลูกค้า ศึกษาเรียนรู้ Insights ของลูกค้าว่าให้ความสำคัญกับอะไร แล้วเลือก Unique Selling Point ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
  • ชูจุดเด่นมากกว่าสโลแกน ถ้อยคำสวยอาจโฆษณาได้ดี แต่จุดเด่นที่แท้จริงที่จะต้องเน้นสื่อสารและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ

เทคนิคสร้าง USP ให้ธุรกิจแข็งแกร่ง 

  • Pain Points ระบุให้ละเอียด
    มองเห็นปัญหาของลูกค้า แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ นำไปสู่แนวทางและจุดเริ่มต้นในการหาคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่แก้ปัญหาได้
  • เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของลูกค้าต้องชัดเจน
    มีประโยชน์ ซึ่งเอกลักษณ์จะสร้างความแตกต่างให้แต่ละแบรนด์เลียนแบบได้ยาก ลูกค้าเห็นความแตกต่างได้อย่างดี
  • ตลาด Niche เฉพาะกลุ่ม
    สร้างฐานลูกค้าใหม่ เปิดตลาดใหม่ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการ สร้างประสบการณ์และคุณค่าให้ผู้บริโภค
  • ดูเทรนด์และทิศทางของตลาด
    เพราะถ้า USP ไม่ตรงกับเทรนด์อาจไม่โดดเด่นหรือดูไม่ทันสมัย

ความเข้าใจผิดของ USP เสี่ยงพลาดโอกาสสำคัญ

  • USP ต้องใหม่ล่าสุด
    ความจริงแล้วไม่จำเป็น แต่ต้องแตกต่างและมีคุณค่าที่โดดเด่นเสมอ
  • USP ต้องซับซ้อน
    ความจริงคือต้องเข้าใจง่าย เรียบง่ายดีที่สุด
  • USP ต้องอยู่ตลอดไป
    ความจริงคือเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการของตลาดสร้างโอกาสใหม่
  • USP ต้องมีแต่คนชื่นชอบ
    ซึ่งความจริงต้องมุ่งที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น
  • USP ต้องมีข้อเดียว หนึ่งเดียว
    ซึ่งไม่จำเป็นสามารถทำหลายได้หลายเรื่อง

ช่องทางสร้าง USP สื่อสารแบบมีประสิทธิภาพ

  • Content Marketing
    นำเสนอจุดขายที่ต้องการโปรโมต ผ่านการทำรีวิว วิดีโอสั้น บทความ ฯลฯ
  • Digital Marketing
    ใช้เครื่องมือทางออนไลน์อย่าง FB Ads, Google Ads, Line OA ฯลฯ
  • Search Marketing
    การค้นหาส่งข้อมูลไปถึงลูกค้า เช่น ใช้ SEO สร้างบทความและ Keyword ฯลฯ 
  • Advertising
    โฆษณาผ่านช่องทางออฟไลน์ต่างๆ เช่น บิลบอร์ด ป้ายโฆษณา วิทยุ รายการทีวี ฯลฯ
  • Social Media
    ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียโฆษณา เช่น Influencer Seeding บนเว็บไซต์ ฯลฯ

ข้อจำกัดของ Unique Selling Points

ข้อจำกัดในการสร้าง USP ที่แบรนด์ควรรู้คือการสร้าง USP ต้องแตกต่างมากบนความคิดสร้างสรรค์เพื่อส่งต่อไปยังลูกค้า ซึ่งต้องใช้ต้นทุนและความพยายามสูง แบรนด์จึงต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อตัดสินใจ นอกจากนี้เทรนด์การตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้าง USP จึงไม่ควรนานจนเกินไป และถ้า USP ประสบความสำเร็จและถูกลอกเลียนแบบอาจทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันลดลง สิ่งสำคัญคือการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเพื่อพิจารณาว่าตรงกับ USP ของแบรนด์ วางแผนให้ชัดเจน และยอมรับทุกข้อจำกัดเพื่อนำไปสู่การสร้าง USP ที่ประสบความสำเร็จ


ข้อมูลอ้างอิง :

  • https://blog.mandalasystem.com/th/unique-selling-point
  • https://eightception.com/build-powerful-usp/
  • https://everydaymarketing.co/knowledge/unique-selling-point-10-techniques-turning-ordinary-products-into-worth-buying-ctc-2024/
  • https://grasp.asia/blog/สร้างจุดเด่นทางการตลาดที่ไม่เหมือนใคร-ได้ด้วย-unique-selling-point
  • https://sparkth.io/blog/unique-selling-point/
  • https://talkatalka.com/blog/what-is-unique-selling-point/
  • https://thedigitaltips.com/blog/marketing/case-studies-of-unique-selling-point/
  • www.dots.academy/post/ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับจุดขายที่ไม่เหมือนใคร-unique-selling-point
  • www.optimizely.com/optimization-glossary/unique-selling-point/
URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ