Big Data วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพิ่มศักยภาพธุรกิจที่ดีกว่าเดิม (จำนวน 1,076 คำ)
BIG DATA เป็นเทรนด์ของโลกยุคใหม่ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ทำให้ทำการตลาดได้เหมาะสม เพิ่มยอดขาย ธุรกิจเติบโต และช่วยให้ได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถประเมินความเสี่ยง ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดอยู่เสมอ
BIG DATE อนาคตธุรกิจยุคใหม่
ข้อมูลจาก Gartner บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำได้คาดเดาเทรนด์อนาคตว่า
- ในอีก 2 ปีข้างหน้าการลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน AI ที่มีแหล่ง Data Set ขนาดใหญ่จะมีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ องค์กรที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นำ Big Data มาใช้จะมียอดขายสูงกว่าองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Big Data
- ภาคการผลิตเกิดการขยายตัว มีการใช้ IoT เก็บข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ช่วยลดต้นทุนลงได้ถึง 40%
- 75% ขององค์กรธุรกิจจะปรับตัวและทำ Digital Transformation เพื่อทำให้ระบบข้อมูลองค์กรทั้งหมดเชื่อมต่อกันและสร้าง Data - Driven โมเดล ภายในปี 2026
Big Data คืออะไร
Big Data คือ การวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนเพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน นำมาสู่การตัดสินใจและต่อยอดเชิงธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาส ขับเคลื่อนนวัตกรรม และปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้ปลอดภัยจากทุกความเสี่ยง ซึ่งเครื่องมือในการประมวลผลมีการพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้หลายรูปแบบ อาทิ ประมวลผลแบบคลาวด์ ประมวลผลแบบกระจาย เป็นต้น เพื่อให้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีคุณภาพ โดยต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งความเป็นส่วนตัว การให้ความยินยอม และความปลอดภัย
Big Data มีกี่ประเภท
- ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data)
ข้อมูลที่มาในรูปแบบโครงสร้างหรือตาราง ง่ายต่อการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว - ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data)
ไม่มีการจำกัดความ วิเคราะห์ได้ยาก มักประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น วันที่ ตัวเลข ข้อเท็จจริง เช่น ไฟล์ VDO ไฟล์เสียง ภาพถ่ายในโซเชียลมีเดีย ฯลฯ - ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Unstructured Data)
ข้อมูลที่ผสานระหว่างข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง มักไม่สอดคล้องกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เช่น XML ฯลฯ
Big Data นำไปใช้งานได้อย่างไร
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ได้แก่
- รู้ความต้องการของธุรกิจและขอบเขตปัญหา เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
- รวบรวมข้อมูล ทุกรูปแบบจากหลากหลายแหล่งที่มี ตลอดจนบนแอปพลิเคชัน คลาวด์ IOT และอื่นๆ
- เก็บข้อมูล นำข้อมูลจากหลากหลายแหล่งข้อมูลมาจัดเก็บใน Cloud หรือ Server ที่เตรียมไว้
- จัดระเบียบข้อมูล สำคัญมาก โดยเฉพาะข้อมูลขนาดใหญ่และไม่มีโครงสร้างต้องจัดการให้เหมาะสม
- ล้างข้อมูล ลบข้อมูลที่ซ้ำหรือไม่จำเป็น เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพของข้อมูล
- วิเคราะห์ข้อมูล แปลงข้อมูลขนาดใหญ่ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมใช้งาน โดยใช้เทคนิคการค้นหาความผิดปกติและสร้างกลุ่มข้อมูล ใช้ข้อมูลจากอดีตคาดการณ์อนาคต ใช้อัลกอริทึมจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนที่สุด
- แสดงผลข้อมูล สร้างรายงานนำเสนอแบบกราฟหรือสรุปรวมหลาย Visuals เพื่อนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจ อาจเตรียม KPI หรือ Business logics ที่ต้องการ นำไปสู่การติดตั้งระบบที่เหมาะสม
Big Data สำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ
- ลดต้นทุนและเวลา
ระบุเทคนิคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ทันที ทำให้ตัดสินใจได้เร็ว อย่างในอุตสาหกรรมการผลิตสามารถวางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้แม่นยำ - เพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน
รู้ข้อมูลเชิงลึก สามารถคาดการณ์แนวโน้มตลาด เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า รักษาลูกค้าเดิม ดึงดูดลูกค้าใหม่ - ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
วิเคราะห์คำติชมและพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อปรับปรุงบริการหรือผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หาวิธีการดึงลูกค้าไว้กับแบรนด์ไม่ให้ไปหาคู่แข่ง - เข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง
เข้าใจสถานการณ์ของตลาด กำหนดสินค้ายอดนิยมและพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสม รวมถึงการสร้างเครือข่าย B2B แบบเชิงลึกยิ่งขึ้น - ปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า
วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเพื่อปรับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายแคมเปญโฆษณา - สนับสนุนนวัตกรรมทางธุรกิจ
จากข้อมูลเชิงลึกนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ วิเคราะห์ผลตอบรับและความสำเร็จของผลิตภัณฑ์และบริการ ติดตามคู่แข่งในตลาดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์แท้จริง - ตรวจจับการฉ้อโกง
ใช้ AI และ Machine Learning ตรวจความผิดปกติในการทำธุรกรรม ลดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า - เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต เลือกวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม - ตัดสินใจได้เร็วขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เชิงลึกช่วยให้ตัดสินใจสร้างนวัตกรรม จัดการปัญหาลูกค้า ประเมินความเสี่ยง ปรับปรุงสินค้าและบริการ พัฒนากลยุทธ์ให้ตอบสนองตลาดได้อย่างรวดเร็ว
อุตสาหกรรมที่ใช้ Big Data
- สุขภาพ
พัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วย งานวิจัยทางการแพทย์ ยา การบริการทางการแพทย์ ฯลฯ - การเงิน
ตรวจจับการฉ้อโกง จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ปรับกลยุทธ์การลงทุน ฯลฯ - E–Commerce
นำข้อมูลพฤติกรรมการซื้อมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขาย - การผลิต
ปรับกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเวลาการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ดีขึ้น - พลังงานและสาธารณูปโภค
สร้างเสถียรภาพผ่านกระบวนการที่ยั่งยืนและการคาดการณ์ที่เหมาะสม - การขนส่ง
ปรับปรุงข้อมูลเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ ลดการใช้เชื้อเพลิง บำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัย - โทรคมนาคม
ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย ประสบการณ์ของลูกค้า นำเสนอบริการส่วนบุคคล - สื่อและความบันเทิง
แนะนำเนื้อหาที่ผู้ชมมีส่วนร่วมมากที่สุด โฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมาย
ไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ไม่ควรมองข้ามการใช้ Big Data เพราะสร้างความได้เปรียบในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการใช้ Big Data นำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ร่วมกันย่อมช่วยให้วางแผน ตัดสินใจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ต้องตระหนักถึงการประมวลผลที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจสูงตาม รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวต้องปลอดภัยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล และต้องระวังการโดนโจรกรรมข้อมูลด้วยเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยที่ต้องอัพเดตอยู่เสมอ
แหล่งอ้างอิง :
- https://1stcraft.com/how-to-apply-big-data-to-your-business/
- https://brandage.com/article/33720
- https://scbtechx.io/th/blogs/pros-cons-and-case-study-of-big-data/
- https://talkatalka.com/blog/what-is-big-data/
- www.amco.in.th/newsroom/big-data-analytics/
- www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1118823
- www.blendata.co/th/3-ปัญหาหลัก-ในการทำ-big-data-ที่อ/
- www.dittothailand.com/dittonews/gov-big-data-with-government-organization/
- www.rocket.in.th/blog/what-is-big-data/

