Notifications

You are here

ห่วงโซ่คุณค่า

Brand Localization ปรับแบรนด์เจาะตลาดท้องถิ่นสู่คว...

17 มกราคม 2025 16 อ่านข่าวนี้ 2 สัปดาห์ก่อน 0
แผนแม่บท : แผนแม่บท ผู้ประกอบการและ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่  
หมวดหมู่ : #8.1การสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ 


การสร้างหรือปรับแบรนด์ให้เข้ากับท้องถิ่นหรือ Brand Localization ในทุกองค์ประกอบเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรม ความสนใจ ความชื่นชอบแตกต่างกัน หากต้องการทำการตลาดท้องถิ่นและสื่อสารแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จและธุรกิจเติบโตต้องวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเติบโตได้เร็วเพราะใช้งบประมาณสร้างแบรนด์น้อยกว่าแต่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วถึงกว่า โดย 72.4% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นหากข้อมูลนำเสนอในภาษาแม่ของผู้บริโภค

Brand Localization คืออะไร

Brand Localization คือ กระบวนการปรับแบรนด์ให้เหมาะสมกับตลาดท้องถิ่นหรือภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ โลโก้ สีสัน ตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างความเป็นกันเอง เกิดการจดจำในแบรนด์ นำไปสู่ความสำเร็จของแบรนด์หรือธุรกิจ 

เทคนิคปรับการสื่อสารให้เข้ากับท้องถิ่น

  • ภาษา (Language)
    การเล่าเรื่องราวหรือให้ข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ เน้นสำนวนภาษา คำสแลง คำเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
  • ภาพ (Visuals)
    การเลือกรูปภาพและสีสัน รวมถึงออกแบบแคมเปญหรือการสื่อสารที่สอดคล้องกับความสนใจของท้องถิ่น 
  • วัฒนธรรมท้องถิ่น (Cultural Values)
    ศึกษาค่านิยม คุณค่า ทัศนคติ และเรื่องที่แต่ละท้องถิ่นให้ความสำคัญเพื่อออกแบบการสื่อสารที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
  • เทรนด์และวัฒนธรรมเฉพาะแต่ละพื้นที่ (Local Culture & Trends)
    ทั้งประเพณี วันสำคัญ ความเชื่อ และเทรนด์ในปัจจุบัน ส่งผลต่อคนท้องถิ่นอย่างชัดเจน จึงควรคำนึงถึงการสื่อสารที่เข้าถึงแต่ละพื้นที่

Brand Localization ดีอย่างไร

  • เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
  • สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้แบรนด์น่าเชื่อถือ
  • แบรนด์ต่อยอดและเติบโตได้เร็วในท้องถิ่น

 กลยุทธ์การทำ Brand Localization ให้มีประสิทธิภาพ

  • วิจัยตลาด (Research the Market)
    ศึกษาข้อมูล ทำวิจัยท้องถิ่น ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ค่านิยม สังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อปรับแบรนด์ให้เหมาะสม โดยปรึกษา พูดคุย และทำงานร่วมกับคนในท้องถิ่นที่เข้าใจท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างดี ช่วยให้เจาะตลาดท้องถิ่นได้เร็ว
  • ปรับภาษาและรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะกับท้องถิ่น (Match Language and Communication Style)
    ใช้สำนวนภาษาที่คนในท้องถิ่นชื่นชอบและเป็นที่นิยม เพื่อให้การสื่อสารเป็นธรรมชาติ จริงใจ เข้าถึงผู้คนในท้องถิ่นได้ดี และต้องตรวจสอบความหมายที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนสื่อสารออกไป
  • ราคาและเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Pricing and Economics)
    การกำหนดราคาให้เหมาะกับท้องถิ่นเป็นหัวใจสำคัญ เพราะแต่ละราคาในตลาดแต่ละพื้นที่มีความต่างกัน สภาพเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกัน เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาตลาดท้องถิ่นเพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมนำไปสู่การทำยอดขายได้ตามเป้าที่วางไว้
  • ทำงานร่วมกับคนในท้องถิ่น (Hire Locally)
    หากต้องการเข้าถึงตลาดท้องถิ่นควรต้องใช้ชีวิตในท้องถิ่นและใกล้ชิดกับคนในท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงลึก ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่แท้จริง รู้สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ไม่ชอบ และความละเอียดอ่อน ส่งผลให้จัดการสื่อสารที่เข้าถึงลูกค้าท้องถิ่นได้ดี
  • ปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้เข้ากับท้องถิ่น (Localize Products and Services)
    ก่อนจะออกผลิตภัณฑ์หรือบริการควรให้คนในท้องถิ่นได้ทดลองและนำความคิดเห็นมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เข้ากับท้องถิ่นนั้น เช่น อาหารต้องเป็นรสชาติที่คนท้องถิ่นนั้นถูกปาก แพ็กเกจต้องเป็นแบบที่คนท้องถิ่นชอบ ฯลฯ ควรปรับเปลี่ยนตามรสนิยมและสไตล์ของคนในท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์และความตั้งใจของแบรนด์
  • คำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม (Be Culturally Sensitive and Relevant)
    ก่อนจะสื่อสารข้อความ ภาพ เสียง และทุกรายละเอียด ต้องเคารพวัฒนธรรมและค่านิยมคนในท้องถิ่น ไม่ขัดกับท้องถิ่นอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการโดนแบนและสร้างความประทับใจให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งกับท้องถิ่น
  • รับฟังข้อเสนอแนะและนำไปปรับปรุง (Take Feedback and Repeat)
    ควรทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้แบรนด์เกิดการพัฒนา ตอบโจทย์คนท้องถิ่น ปรับกลยุทธ์ได้ทันกับเทรนด์ของแต่ละท้องถิ่น

Brand Localization ต่างกับ Brand Standardization อย่างไร

การปรับแบรนด์ให้เหมาะกับท้องถิ่น (Brand Localization) ต่างจากการใช้แบรนด์ตามมาตรฐาน (Brand Standardization) อย่างชัดเจน เพราะการปรับแบรนด์ตามท้องถิ่น ชื่อแบรนด์ การออกแบบการสื่อสารจะมีความเฉพาะและเหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ แต่การใช้แบรนด์ตามมาตรฐาน องค์ประกอบทั้งแบรนด์และรูปแบบการสื่อสารจะเหมือนกันไม่ว่าผู้บริโภคพบแบรนด์ที่ไหนความรู้สึกและภาพลักษณ์จะเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งการปรับแต่งแบรนด์ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจวางเป้าหมายของแบรนด์ไว้อย่างไรและต้องการให้แบรนด์เติบโตไปในทิศทางใด สิ่งสำคัญคือการศึกษาตลาด วางแผนการตลาด และปรับการสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อความสำเร็จของแบรนด์ โดยคำนึงถึงงบประมาณ เวลา และผลตอบแทนที่จะได้รับกลับมา

สินค้าหรือบริการที่เคยประสบความสำเร็จในตลาดหลักอาจไม่สามารถเจาะตลาด New Frontiers พื้นที่ใหม่ๆ ได้จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้กลยุทธ์ Localization ปรับสินค้าให้เป็นสินค้าท้องถิ่นเพื่อเจาะตลาดปูทางความสำเร็จได้เป็นอย่างดี



แหล่งอ้างอิง :

  • https://everydaymarketing.co/knowledge/what-is-brand-localization-7-strategies-adjust-your-brand-to-suit-the-local/
  • https://goonlinethailand.com/blog/online-marketing/localized-marketing/
  • https://sme.thaicreditbank.com/th/knowledge/localized-marketing
  • https://talkatalka.com/blog/what-is-local-marketing/
  • www.frontify.com/en/blog/brand-localization/brand-localization-vs-standardization-which-is-the-best-approach/
  • www.ryt9.com/s/exim/3037129#google_vignette
  • www.thebrandingjournal.com/2024/07/importance-brand-localization/

URL อ้างอิง:

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ